หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มารยาททางสังคมในการเล่นกีฬาลีลาศ


มารยาททางสังคมในการเล่นกีฬาลีลาศ

4.1 การเตรียมตัว
                1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น
                2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาละเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง
                3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน
                4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ
                5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
                6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

4.2 ก่อนออกลีลาศ
                1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อนหญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก (ถ้ามี)
                2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
                3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน
                4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้นๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน
                5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ
                6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว
                7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
                8. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
                9. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน

4.3 ขณะลีลาศ
                1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน
                2. ในการจับคู่ สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืนห่างจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น
                3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง
                4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ
                5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ
                6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง
                7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ
                8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ
                9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด
                10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง
                11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ
                12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก
                13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ
                14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น
                15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ
                16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกระทันหัน หรือก่อนเพลงจบ

4.4 เมื่อสิ้นสุดการลีลาศ
                1. สุภาพบุรุษต้องเดินนำหรือเดินเคียงคู่กันลงจากฟลอร์ลีลาศ และนำสุภาพสตรีไปส่งยังที่นั่งให้เรียบร้อย พร้อมทั้งกล่าวคำขอบคุณสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษอื่นที่นั่งอยู่ด้วย
                2. เมื่อถึงเวลากลับ ควรกล่าวคำชมเชย และขอบคุณเจ้าภาพ (ถ้ามี)
                3. สุภาพบุรุษจะต้องพาสุภาพสตรีที่ตนเชิญเข้างาน ไปส่งยังที่พัก

4.5 สรุปมารยาทโดยรวมในการลีลาศ
                1. ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยหรือเหมาะสมกับงานที่จัดขึ้น โดยเฉพาะรองเท้าควรเป็น รองเท้าลีลาศหรือที่เหมาะสมกับการลีลาศ
                2. ควรสำรวมกิริยามารยาท โดยคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามไว้เสมอ
                3. ไม่ควรออกลีลาศในขณะที่เสพสุรามากเกินไป หรือมีอาการมึนเมา
                4. การเข้าคู่ลีลาศ หรือ “Holding” ควรกระทำให้ถูกต้อง โดยเฉพาะในงานลีลาศออกสังคมควรคำนึงถึงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม
                5. การลีลาศในงานสังคมไม่ควรพาคู่เต้นออกลวดลายเกินความจำเป็น และควรคำนึงถึงความสามารถของคู่เต้นด้วยว่าจะทำตามได้หรือไม่
                6. ควรระมัดระวังการกระทบกระทั่งกัน หากมีเหตุสุดวิสัยควรกล่าวคำขอโทษซึ่งกันและกัน และควรที่จะให้อภัยต่อกัน
                7. ระหว่างงานลีลาศ ควรแสดงออกถึงความสุขสนุกสนานและรื่นเริง และพูดคุยกันในสิ่งที่ดีงามและเป็นมงคล
                8. ในการลีลาศควรเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งมีระบุไว้ในกฎกติกา ของการลีลาศในแต่ละจังหวะ โดยปกติแล้วจะเคลื่อนที่ไปในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาตามแนวทางของการลีลาศ
                9. สุภาพบุรุษควรเดินเคียงคู่กับสุภาพสตรีออกไปลีลาศและนำส่งกลับโต๊ะที่นั่งหลังเสร็จสิ้นการลีลาศ
                10. ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำผู้ที่ยังลีลาศไม่เป็นลงไปสอนกลางฟลอร์ลีลาศ เพราะจะก่อความรำคาญให้คู่ลีลาศอื่นๆ
                11. สุภาพบุรุษกุบสุภาพบุรุษไม่ควรออกไปลีลาศคู่กันเพราะดูไม่สุภาพ
                12. ถ้าจะลีลาศกับผู้ที่มากับคนอื่น ควรจะขออนุญาตกับผู้ที่มาด้วยก่อนเสมอ
                13. ถ้าได้ปฏิเสธการขอลีลาศจากผู้ใดผู้หนึ่งไปแล้ว ไม่ควรจะออกลีลาศกับบุคคลอื่นในทันทีทันใด
                14. หลังเสร็จสิ้นการลีลาศในแต่ละครั้ง ควรกล่าวคำขอบคุณซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะลีลาศกับผู้ที่อาวุโสกว่าควรยกมือขึ้นไหว้ขอบคุณ แล้วพากลับเข้านั่งที่
                15. ควรเรียนรู้และศึกษาทักษะการลีลาศในแต่ละจังหวะของการลีลาศให้ถ่องแท้ก่อนการลงลีลาศจริงบนฟลอร์ เพื่อที่จะไม่เป็นที่ขัดความสำราญของผู้อื่น


วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฏ กติกาของการเต้นลีลาศ


กติกาข้อที่ 1
องค์กรที่ดำเนินการควบคุมดูแล
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) เป็นองค์กรที่กำกับดูแลการแข่งขันกีฬาลีลาศและนักกีฬาลีลาศ, รวมไปถึงการแข่งขันของสมัครเล่นทุกระดับชั้น, ในแต่ละประเทศตลอดจนถึงประเทศที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และที่เป็นระดับสากล
กติกาข้อที่ 2
การประยุกต์ใช้กติกา
1. กติกาข้อนี้ให้ประยุกต์ใช้กับการแข่งขันกีฬาลีลาศนานาชาติ ซึ่งจัดโดยองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ รวมถึงการแข่งขันประเภท Standard, Latin American, New Vogue, American Style, Rock’n Roll, Old Time, Modern และ Latin Sequence สำหรับกติกาของ Rock’n Roll ให้ใช้กติกาที่กำหนดโดยสมาพันธ์ เวิลด์ ร็อค แอนด์ โรล (World Rock’n Roll Confederation) ซึ่งเป็นสมาชิกร่วมของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
2. คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับกติกาได้หรือไม่
3. สำหรับรายการแข่งขันที่เป็นกรณีพิเศษ
4. ผู้เข้าร่วมในการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะต้องสังกัดในองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
กติกาข้อที่ 3
เงินรางวัล
ในการแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เงินรางวัลสามารถที่จะจ่ายให้ได้เท่ากับทางสหพันธ์ฯ จ่ายให้กับการแข่งขันเวิลด์ โอเพ่น (IDSF World Open) แต่ถ้าผู้ที่จัดการแข่งขันกำหนดเงินรางวัลไว้สูงกว่าการแข่งขันเวิลด์ โอเพ่น ของสหพันธ์ฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน
กติกาข้อที่ 4
การโฆษณา
1. ในการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ คู่แข่งขันจะติดป้ายโฆษณาของผู้ให้การสนับสนุนได้ไม่เกิน 2 ราย บนชุดสำหรับแข่งขันและให้มีขนาดไม่เกิน 40 ตารางเซนติเมตร ต่อผู้ให้การสนับสนุน 1 ราย ตำแหน่งที่ติดป้ายจะอยู่ที่บริเวณเอว หน้าอก หรือแขนเสื้อ ป้ายโฆษณาจะติดอยู่ที่ฝายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้ หรือฝ่ายหญิง 1 ราย ฝ่ายชาย 1 รายก็ได้
2. โฆษณาที่จะลงบนหมายเลขประจำตัวของผู้แข่งขันจะต้องมีขนาดไม่เกิน 20% ของขนาดหมายเลขประจำตัวผู้เข้าแข่งขัน
กติกาข้อที่ 5
ระดับของการแข่งขัน
5.1 การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Championships)
5.1.1 รุ่นผู้ใหญ่(Adult) เยาวชน(Youth) และยุวชน II (Junior II)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของ IDSF ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะSamba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภทOver Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American)
ตามกติกาข้อที่ 14 ข้อที่ 2-13 ให้ใช้กับรุ่นผู้ใหญ่เท่านั้น
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค) จำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์มีสิทธิ์ส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่
การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนโลก
สมาคมต่าง ๆ สามารถส่งคู่เข้าแข่งขันได้ 1 คู่
การแข่งขัน Formation ชิงแชมป์เปี้ยนโลก
แต่ละสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันรวม 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.1.2 รุ่นอาวุโส (Senior)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกรุ่นอาวุโสของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะ Waltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิส่งผู้เข้าแข่งขันได้ 2 คู่
ง) การจ่ายค่าตอบแทน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะรับผิดชอบจ่ายค่าที่พักให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 1 คืนแต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนค่าใช้จ่ายของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ตัดสินให้เป็นไปตามกฏข้อที่ 8
จ) เกณฑ์อายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นอาวุโสนานาชาติ อย่างน้อยทั้งคู่จะต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการแข่งขัน
5.2 การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Continental Championships)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American),
ตามกฎข้อที่ 14, ข้อที่ 2-13
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ก. ทุกๆสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่
ข. การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปของสหพันธ์ฯ กำหนดให้แต่ละสมาคมส่งคู่เข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ เท่านั้น
ค. การแข่งขันประเภท Formation ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์ฯ สมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญเข้าร่วมการแข่งขันสมาคมละ 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง) การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.3 การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Sub-Continental Championships)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรป มีดังนี้
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ อย่างน้อย 4 สมาคม
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่ได้รับเชิญแต่ละสมาคม มีสิทธิ์ที่จะส่งตัวแทนเข้าร่วมในการแข่งขันสมาคมละ 2 คู่ ผู้จัดการแข่งขันอาจเชิญ 1 คู่ จากประเทศที่เข้าร่วม
ง) การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.4 การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF World Ranking Tournaments)
การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกมี 4 ประเภทด้วยกัน
ก) การแข่งขันซุปเปอร์เวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Super World Cup)
ข) การแข่งขันเวิลด์โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cup)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขันเวิลด์โอเพ่นในประเภท Standard และ Latin Americanโดยจะมีเงินรางวัลและการสะสมคะแนนในการจัดอันดับโลกโดยคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
ค) การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF International Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะจัดการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลโอเพ่นในประเภท Standard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวณโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ง) การแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open) ในประเภทStandard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวณโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
อนึ่ง ในรายละเอียดของระเบียบการแข่งขันที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นครั้งๆ ไป
5.5 การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions)
ก. คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่น
นอกจากการแข่งขันประเภททีมแมทช์ และการแข่งขันประเภทแปรขบวนหมู่ ให้เปรียบเสมือนเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งต้องมีคู่เข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อย 4 ประเทศ
ข. การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมในการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค. การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนของผู้เข้าร่วมการแข่งขันให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.6 การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น สำหรับ ฟอร์เมชั่น – ทีม
(International Invitation Competitions for Formation - Teams)
ก) คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่นสำหรับฟอร์เมชั่น - ทีม
การแข่งขันนี้อาจใช้ชื่อว่า “การแข่งขันฟอร์เมชั่นนานาชาติ” ถ้ามี ฟอร์เมชั่น - ทีมส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อยกว่า 4 ประเทศ
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.7 การแข่งขันเวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cups)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันเวิลด์คัพส์ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน:
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน:
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติที่ได้รับเชิญสามารถส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้เพียง 1 คู่
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.8 การแข่งขันชิงถ้วยของภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Continental Cups)
ก) ประเภทของการแข่งขัน:
การแข่งขันชิงถ้วยภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American), ทั้งนี้ให้ดูกติกาข้อที่ 14 ข้อย่อยที่ 2 - 13 ประกอบ
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน:
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค) การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ที่ได้รับเชิญสามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ / 1 ทีม – ฟอร์เมชั่น
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.9 การแข่งขันทีมแมทช์นานาชาติ (International Team Matches)
ก) ประเภทของการแข่งขัน:
การแข่งขันทีมแมทช์นานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
การแข่งขันทีมแมทช์ นานาชาติ เป็นการจัดการแข่งขันที่ตกลงกันเองระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ โดยจัดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งในประเทศและระหว่างสมาชิกของสหพันธ์เดียวกัน
ค) การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ( คำจำกัดความของคำว่า “ทีม” )
ในแต่ละทีมต้องมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 4 คู่ คัดเลือกจากการจัดอันดับคะแนนสะสมของแต่ละประเทศ และต้องไม่มีการเปลี่ยนคู่ในระหว่างที่มีการแข่งขัน
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ตกลงกันเองโดยอิสระระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่เกี่ยวข้อง
5.10 การแข่งขันประเภทโอเพ่น (Open Competitions)
เป็นการแข่งขันที่เปิดให้เข้าร่วมเฉพาะคู่แข่งขันของสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติเท่านั้น คู่แข่งขันที่มาจากประเทศหรือสมาคมใดที่มิได้อยู่ในเครือของสหพันธ์ฯ หากจะเข้าร่วมทำการแข่งขันต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน
5.11 ระยะเวลาที่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันและอัตราความเร็วของจังหวะดนตรี
ในทุกรอบของการแข่งขัน ระยะเวลาของดนตรีที่ใช้สำหรับจังหวะจังหวะWaltz , Tango , Slow Foxtrot , Quickstep , Samba , Cha Cha Cha , Rumba และ Paso Doble จะต้องมีอย่างน้อย 1 นาทีครึ่ง สำหรับในจังหวะ Viennese Waltz และ Jive จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 นาที และไม่เกินหนึ่งนาทีครึ่ง, ประธานผู้ตัดสินอาจให้ระยเวลาของดนตรีเพิ่มขึ้นตามความวินิจฉัยของเขา/หล่อน เพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในจังหวะของการแข่งขันในแต่ละรายการ
อัตราความเร็วของจังหวะดนตรีในแต่ละรูปแบบของการลีลาศมีดังนี้
Waltz 28-30 บาร์ต่อนาที Samba 50-52 บาร์ต่อนาที
Tango 31-33 บาร์ต่อนาที Cha Cha Cha 30-32 บาร์ต่อนาที
Viennese Waltz 58-60 บาร์ต่อนาที Rumba 25-27 บาร์ต่อนาที
Slow Foxtrot 28-30 บาร์ต่อนาที Paso Doble 60-62 บาร์ต่อนาที
Quickstep 50-52 บาร์ต่อนาที Jive 42-44 บาร์ต่อนาที
ประเภทของดนตรี
ในทุกรายการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ดนตรีที่ใช้จะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะที่ใช้ในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทดิสโก้ ในการลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน
5.12 กฎระเบียบที่เข้มงวด
1. ในการแข่งขันทุกรายการที่ได้รับการรับรองโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติภายใต้กติกา ข้อที่ 5 มีกฎระเบียบที่เข็มงวดอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ระเบียบการแต่งกายของนักลีลาศที่อยู่ในทุกเกณฑ์อายุของรุ่นเด็ก (Juveniles)
กฎระเบียบที่เข้มงวดใดๆ ที่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งขึ้นโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการที่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยทั่วถึงให้สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติได้ทราบล่วงหน้า หลังจากที่ประกาศไปแล้ว 12 เดือน
2. กฎระเบียบที่เข็มงวดจะต้องถูกสังเกตเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากชาติของสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และต้องได้รับการยืนยันจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิร้องเรียนไปถึงประธานกรรมการ ในข้อที่ว่ามีการทำผิดกฏระเบียบขึ้นในรอบแรกของการแข่งขันคู่แข่งขันจะได้รับคำเตือนจากประธานกรรมการ หากมีการทำผิดกฏระเบียบซ้ำขึ้นอีกในรอบถัดไป หรือถึงรอบสดท้าย คู่แข่งขันจะถูกประธานกรรมการตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 6
สิทธิในการจัดการแข่งขัน
1. คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีสิทธิอันชอบธรรมในการจัดการแข่งขันตามกติกา ข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-8 และมีสิทธิในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม (ดูกฏระเบียบว่าด้วยการเงิน)
การแข่งขันเหล่านี้ ยกเว้นการแข่งขันที่อยู่ภายใต้กติกาข้อ 5 ข้อย่อยที่ 5 และ 6 จะต้องมีจดหมายเวียนล่วงหน้าไปยังเหล่าสมาชิก ในกรณีที่เป็นพิเศษ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีอำนาจที่จะจัดการแข่งขัน โดยออกคำสั่งโดยตรงให้กับเมืองหรือประเทศที่เป็นสมาชิกฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
2. การจัดการแข่งขันตามกฏกติกาข้อ 5 ย่อหน้าที่ 5 ต้องมีการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศและต้องเสียค่าลงทะเบียน 20,00. CHF ซึ่งองค์กรที่จัดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกขององค์กรด้วย
กติกาข้อที่ 7
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน ในการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions) จะต้องดำเนินการขึ้นระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิก การเชิญต้องระบุวันที่ ที่ได้ลงในทะเบียนการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
กติกาข้อที่ 8
การชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายขั้นต่ำต่างๆ ให้กับคู่แข่งขัน ประธานและกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันครอบคลุมไปถึง กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 , 7 และ 8 ให้เป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
สมาชิกจะต้องระบุจำนวนเงินล่วงหน้า
กติกาข้อที่ 9
การใช้สารต้องห้าม
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีกฎข้อห้ามมิให้มีการใช้สารต้องห้าม ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบการควบคุมห้ามใช้สารต้องห้าม
กติกาข้อที่ 10
วิธีการสำหรับการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่าง ๆ
1. ประธานกรรมการผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เป็นผู้ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแลการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติใดๆ ที่สหพันธ์ฯ ไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน - ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) เอาเอง
2. กรรมการผู้ตัดสิน
ในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a-c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภททีมแมทช์ ( Team Matches )
3. สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องถือใบอนุญาตเป็นผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
4. กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5, ข้อย่อยที่ 1-4 a+b , 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
5. สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
6. ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องได้รบการรับรองเป็นทางการโดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
7. กรรมการผู้ตัดสินจะต้องไม่ทำการตัดสินการแข่งขันและต้องถอนตัวออกจากคณะกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันนั้น หากพบว่ามีคู่แข่งขันคนใดคนหนึ่งเป็นเครือญาติหรือครอบครัวของตัวเอง รวมไปถึงการมีพันธะ
ผูกพัน หรือความสัมพันธ์ส่วนตัว สำหรับคำที่เข้าใจง่ายและชัดเจนคือ “การมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติ” รวมไปถึงการมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือการแต่งงาน, การเป็นญาติที่ใกล้ชิดหรือลูกบุญธรรม หรือเป็นบุคคลที่ผู้ตัดสินอยู่อาศัยด้วยและการอยู่กินกันฉันสามีภรรยากัน
กติกาข้อที่ 11
การกำหนดเกณฑ์อายุ
1. การแบ่งเกณฑ์อายุดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ และระดับชิงแชมป์เปี้ยนต่างๆ
รุ่นเด็กระดับ I (Juvenile I) นับถึงอายุ 9 ปี หรือต่ำกว่าในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
รุ่นเด็กระดับ II (Juvenile II) นับถึงอายุ 10-11 ปีในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
ยุวชนระดับ I (Junior I) นับถึงอายุ 12-13 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
ยุวชนระดับ II (Junior II) นับถึงอายุ 14-15 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
เยาวชน (Youth) นับถึงอายุ 16-17 และ 18 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
ผู้ใหญ่ (Adult) นับถึงอายุ 19 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
อาวุโส (Senior I) นับถึงอายุ 35 ปี หรือ มากกว่า ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
อาวุโส (Senior II) นับถึงอายุ 45 ปี หรือ มากกว่า ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
อนุญาตให้กลุ่มอายุ 2 กลุ่ม สามารถเข้าแข่งขันร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น รุ่นเด็กระดับ I และ II และรุ่นยุวชนระดับ I และ II ก็เช่นเดียวกัน รุ่นเยาวชนก็อนุญาตให้เข้าร่วมในการแข่งขันของรุ่นผู้ใหญ่ได้ ในกลุ่มเกณฑ์อายุของทุกรุ่น คู่เต้นคนใดคนหนึ่งสามารถมีอายุน้อยกว่าได้ ยกเว้นในรุ่นอาวุโส
2. ในการสมัครชื่อคู่แข่งขันเข้าร่วมในการแข่งขัน สมาชิกของผู้จัดการแข่งขันต้องแจ้ง วัน เดือน ปี ที่เกิด แก่ผู้จัดการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 12
เครื่องแต่งกายในการแข่งขัน
สำหรับการแข่งขันทุกรายการที่ได้จัดขึ้นโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ภายใต้กติกาข้อที่ 5 การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขันให้ปฏิบัติสอดคล้องกับระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบว่าด้วยการแต่งกายสำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฯ เหล่านี้ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของกติกาการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
สำหรับทุกๆ เกณฑ์อายุ
ส่วนสะโพกของฝ่ายหญิงต้องปกปิดไว้ให้มิดชิดตลอดเวลา ประธานกรรมการหรือผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ มีอำนาจที่จะตัดสิทธิ์คู่แข่งขันที่สวมใส่ชุดแข่งขันที่ไม่เป็นไปตามกฏระเบียบของข้อนี้ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ จะลงโทษทางวินัยตัดสิทธิ์ไม่ให้คู่แข่งขันเข้าร่วมในการแข่งขันต่างๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
กติกาข้อที่ 13
คู่แข่งขัน
1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน
คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วยชาย 1 คน คู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน
2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
2.1 คู่แข่งขันหนึ่งคู่สามารถเป็นตัวแทนได้เพียงหนึ่งประเทศในทุกรายการแข่งขันในระดับชิงแชมเปี้ยน หรือชิงถ้วยรางวัลของสหพันธ์ๆ ถ้าคู่แข่งขันคนใดคนหนึ่งถือครองหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุของประเทศที่เป็นตัวแทนขณะที่ขึ้นทะเบียนและอยู่ในช่วงเวลาที่ตรงกับการแข่งขัน
2.2 คู่แข่งขันหนึ่งคู่สามารถเป็นตัวแทนได้เพียงหนึ่งประเทศในทุ่กรายการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ละคู่แข่งอนุญาตให้เข้าร่วมแข่งขันโดยเป็นตัวแทนของสมาชิกของสหพันธ์ๆขณะที่ขึ้นทะเบียนและอยู่ในช่วงเวลาที่ตรงกับการแข่งขัน
2.3 คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของประเทศใดประเทศหนึ่งในการแข่งขันนานาชาติของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ หรือการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลของสหพันธ์ฯ จะไม่สามารถเป็นตัวแทนของประเทศอื่นได้ จนกว่าจะผ่านพ้นระยะเวลา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่การเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันครั้งสุดท้าย
2.4 คู่แข่งขันที่ได้เป็นตัวแทนของประเทศใดประเทศหนึ่งในทัวนาเม้นท์ของการสะสมคะแนนโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ หรือรายการแข่งขันโอเพ่น ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นจนกว่าจะพ้นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งต้องให้ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของสหพันธ์ฯ อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าเกิดมีปัญหาว่าสองสมาชิกของสหพันธ์ฯ ตกลงกันเองโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะเปลี่ยนแปลงตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นตัวแทนของสมาคมใหม่โดยทันที กำหนดระยะ 6 เดือน โดยเริ่มจากวันที่ได้ยื่นใบสมัครให้กับผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของสหพันธ์ฯ ที่จะเป็นตัวแทนของประเทศอื่น การยื่นสมัครต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
2.4.1 ในการแข่งขันที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล (IOC) หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ (IWGA) จะไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติเข้าร่วมการแข่งขัน สอดคล้องกับกติกาของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่นักแข่งขันต้องเป็นตัวแทนชาติของตนเอง นักแข่งขันต้องถือครองหนังสือเดินทางของประเทศสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติที่เป็นตัวแทนในช่วงเวลาที่ร่วมอยู่ในรายการแข่งขันของ IOC หรือ IWGA นักกีฬาเป็นตัวแทนได้เพียงประเทศเดียวในรายการแข่งขันของ IOC, OCA หรือ IWGA ถ้าเขา/หล่อน ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมแข่งขันโดยสมาชิกของสหพันธ์ฯ ในประเทศนั้น และระยะเวลาที่ได้รับการอนุญาตรวม 6 เดือนก่อนวันที่มีการแข่งขัน
2.5 การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยน/ชิงถ้วยรางวัลฟอร์เมชั่น-ทีม ของ IDSF
ในการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนหรือชิงถ้วยรางวัล นักแข่งขันต้องมีอย่างน้อย 12 คู่ ในหนึ่งทีมและต้องถือครองหนังสือเดินทางประเทศสมาชิกของสหพันธ์ฯในขณะนั้น เขา/หล่อนที่ได้รบการแต่งตั้งเป็นตัวแทนของสมาชิกนั้นและอยู่ในช่วงเวลาของการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนหรือชิงถ้วยรางวัลในขณะนั้น
กติกาข้อที่ 14
การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนฟอร์เมชั่นนานาชาติ (International Formation Championships)
1. การจัดการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนฟอร์เมชั่นอาจจัดขึ้นได้ 2 รูปแบบ
ก) ประเภท Standard
ข) ประเภท Latin American
2. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแข่งขัน
ประเภท Standard การแต่งกายของชายจะต้องเป็นสีดำ หรือสีกรมท่า
ประเภท Latin American การแต่งกายของชายให้มีสีสันหลากหลายได้ แต่ฝ่ายชายจะต้องใส่ชุดแข่งขันเป็นสีเดียวกันหมดทั้งทีม ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับใดๆ ทั้งสิ้น
3. ทีมของการแข่งขันประเภท Standard จะต้องเลือกใช้รูปแบบของเบสิคอย่างน้อย 16 บาร์ ในแต่ละรูปแบบของการแข่งขันในจังหวะ Waltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep ในทุกๆ รูปแบบของการลีลาศรวมไปถึงการลีลาศประเภท Latin American
4. ทีมของการแข่งขันประเภท ลาตินอเมริกัน จะต้องเลือกใช้รูปแบบของเบสิคอย่างน้อย 16 บาร์ ในแต่ละรูปแบบของการลีลาศในจังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive รวมไปถึงการลีลาศประเภท Standard
5. การแสดงเดี่ยว ในประเภทสแตนดาร์ดจะจำกัดให้แสดงได้ไม่เกิน 24 บาร์ การนี้ไม่รวมไปถึงประเภทลาตินอเมริกัน ที่ซึ่งการแยกตัวออกจากกันในแบบแสดงเดี่ยวเป็นปกติของการแสดง การยกลอยขึ้นไม่อนุญาตให้ใช้ในการแสดงของทั้งสองประเภท
ข้อสังเกตุ การยกลอยขึ้นในลักษณะของการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างนักลีลาศคนใดคนหนึ่งที่เท้าทั้งสองข้างยกพ้นพื้น ซึ่งขณะเดียวกันเป็นเวลาที่ได้รับการช่วยสนับสนุนจากคู่ของตนเอง
6. ในทีมของการแข่งขันชิงแชมป์ทั้งหมดกำหนดให้มี 6 คู่ หรือ 8 คู่ ในหนึ่งทีม ห้ามคนใดคนหนึ่งร่วมแข่งขันเกินกว่าหนึ่งทีมในการแข่งขันครั้งเดียวกัน
7. ในการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยน สมาชิกของทีมอาจมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เป็นตัวสำรองได้ 4 ครั้ง
8. ไม่ให้ทีม Formation ใดใช้รูปแบบของการแสดงยาวเกินกว่า 6 นาที รวมไปถึงการเข้าและการออก ในเวลา 6 นาทีนี้ ช่วงเวลาของการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินจะมีไม่เกิน 4 นาที ครึ่ง และต้องระบุให้เห็นอย่างชัดเจนในการจัดรูปแบบ ในการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการแสดง ทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้อาจถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน โดยประธานกรรมการ
9. คณะกรรมการตัดสินควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการตัดสินในการแข่งขันประเภทฟอร์เมชั่น ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 7 คน โดยเลือกจากประเทศต่างๆ ไม่ซ้ำกัน 7 ประเทศ
10. ควรใช้เทปบันทึกเสียง หรือเครื่องเสียงระบบใดก็ได้
11. ควรต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมอย่างเพียงพอ สำหรับทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันและจัดแบ่งเวลาฝึกซ้อมให้เท่าเทียมกันในสถานที่แข่งขันพร้อมกับการให้ใช้ดนตรี
12. ต้องมีการแต่งตั้งประธานกรรมการและประธานกรรมการต้องการเข้าร่วมในการฝึกซ้อม มีหน้าที่คอยตักเตือนทีมที่ฝ่าฝืนกฏกติกาและถ้ากติกาถูกฝ่าฝืนในระหว่างที่ทำการแข่งขัน ประธานจะมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ทีมที่ฝ่าฝืนออกจากการแข่งขันหลังจากที่ได้หารือกับคณะกรรมการผู้ตัดสินแล้ว
ดนตรีที่ใช้และรูปแบบของการแสดง ในการฝึกซ้อมจะต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน ในการแข่งขันจริงและไม่อนุญาตให้สับเปลี่ยนชุดระหว่างที่มีการแข่งขัน
13. หากมีทีมเข้าร่วมในการแข่งขันเกิน 5 ทีม ในการแข่งขันจะต้องจัดให้มีรอบที่ 2 (Second Round)
กติกาข้อที่ 15
อำนาจของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ มีอำนาจเต็มในการตัดสินปัญหาที่อยู่นอกเหนือกติกาเหล่านี้
กติกาข้อที่ 16
การประยุกต์ใช้กติกา
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติยินยอมให้ชาติที่เป็นสมาชิกนำกติกาเหล่านี้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและให้ยึดถือเป็นกติกาของประเทศนั้นๆ
การกำหนดเกณฑ์อายุของนักกีฬา
กลุ่มเกณฑ์อายุ
ปีที่มีการแข่งขัน
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551
รุ่นการแข่งขัน
ปีที่เกิด
ปีที่เกิด
รุ่นจูเวนไนล์ 1 (Juvenile I)
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ขึ้นไป
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ขึ้นไป
รุ่นจูเวนไนล์ 2 (Juvenile II)
พ.ศ. 2539-2540
พ.ศ. 2540-2541
รุ่นจูเนียร์ 1 (Junior I)
พ.ศ. 2537-2538
พ.ศ. 2538-2539
รุ่นจูเนียร์ 2 (Junior II)
พ.ศ. 2535-2536
พ.ศ. 2536-2537
รุ่นยูธท์ (Youth)
พ.ศ. 2532-2534
พ.ศ. 2533-2535
รุ่นอะเด้าท์ (Adult)
พ.ศ. 2531 หรือก่อน
พ.ศ. 2532 หรือก่อน
รุ่นซีเนียร์ 1 (Senior I)
พ.ศ. 2515 หรือก่อน
พ.ศ. 2516 หรือก่อน
รุ่นซีเนียร์ 2 (Senior II)
พ.ศ. 2505 หรือก่อน
พ.ศ. 2506 หรือก่อน
การนับอายุของนักกีฬา
การนับอายุของนักกีฬา ให้เป็นไปตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการ
แข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 5 ข้อที่ 19 ( สอดคล้องกับกฎข้อบังคับของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ข้อที่ 11 )
ระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ(IDSF)
กฏกติกาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบการจัดการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) ในกฏข้อ 12
ขอบเขตอำนาจและความเหมาะสม
กฏกติกาเหล่านี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับรายการแข่งขันกีฬาลีลาศที่ใช้ชื่อของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และสอดคล้องกับมติของที่ประชุมในการประชุมประจำปีของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF), และรูปแบบของกติกาการแข่งขันภายในประเทศสำหรับสมาชิกของสหพันธ์ฯ จะมีกรณียกเว้นที่สมาชิกของสหพันธ์ฯ สามารถที่จะไตร่ตรองโดยเพิ่มเติมข้อกำหนดระเบียบการแต่งกายขึ้นเอง ในรายการแข่งขันภายในประเทศที่ไม่ได้ใช้ชื่อของ “IDSF”
คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) สงวนอำนาจที่จะกำหนดกฏข้อเฉพาะหรือจำกัดวงหรืออาจจะแก้ไขหรือมีข้อยกเว้นสำหรับรายการแข่งขันที่เป็นกรณีพิเศษ
กติกาโดยทั่วไป
1. ชุดแต่งกายต้องออกแบบให้มีรูปแบบ-ลักษณะที่เหมาะสมตามแต่ละประเภทของการแข่งขัน ( สแตนดาร์ด - ลาตินอเมริกัน )
2. ชุดแต่งกายต้องออกแบบให้ปกปิดส่วนของร่างกายที่เป็นของลับ ( ของสงวน ) ของนักแข่งขัน
3. การแต่งกายและการเม็คอัพต้องให้มีความเหมาะสมกับวัยและระดับของนักกีฬาลีลาศ
4. ไม่อนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ทางศาสนามาเป็นเครื่องประดับ หรือตกแต่งด้วยเครื่องประดับที่เป็นเพชร - พลอย (ไม่รวมถึงเครื่องประดับที่เป็นของส่วนตัว)
5. ประธานเทคนิคของการแข่งขันมีสิทธิที่จะให้ผู้แข่งขันถอดชุดแข่งขันหรือเครื่องตกแต่งที่เป็นเพชร-พลอย ชิ้นที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับนักกีฬาหรือบุคคลอื่น
6. อนุญาตให้ใช้ชุดแข่งขันในระดับหรือเกณฑ์อายุที่รองลงมาได้
กฏเกณฑ์ในรสนิยม
ในกรณีที่มีการใช้วัสดุ หรือสีหรือการออกแบบประดิษฐ์ที่ค้านกับกติกาการแต่งกายนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีในความหมายของคำตามตัวอักษรของระเบียบการแต่งกายนี้, ช่องว่างของกติกาเหล่านี้จะถูกชี้ขาดโดยประธานผู้ตัดสิน
บทลงโทษ
ในกรณีที่คู่แข่งขันฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้สอดคล้องตามระเบียบว่าด้วยการแต่งกายนี้ และได้รับการเตือนจากประธานผู้ตัดสิน เขาเหล่านั้นต้องยินยอมปฏิบัติตามกฏระเบียบหรืออาจถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันโดยทันทีจากประธานฯ, คณะกรรมการบริหารฯ มีสิทธิ์ที่จะลงโทษเพิ่มเติม รวมไปถึงการให้พักจากการแข่งขันในกรณีที่มีการละเมิดซ้ำ
คำอธิบายของประโยค
บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ (Intimacy area) – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ, ส่วนของร่างกายที่จะต้องถูกปกปิดให้มิดชิดด้วยวัสดุที่ทึบ หรือส่วนที่ใช้วัสดุโปร่งใส บดบังด้วยวัสดุที่ทึบ หากใช้สีเนื้อต้องปกปิดด้วยการตกแต่ง
สำหรับคู่ลีลาศที่เป็นหญิง
- ไม่อนุญาตให้ใช้ กางเกงชั้นในที่เว้าลึกไม่คลุมสะโพก (tangas)
- ไม่อนุญาตให้สวมกางเกงชั้นในสีเนื้อ
- ส่วนหน้าอกต้องปกปิดให้มิดชิด
- ช่วงห่างของฝาครอบทรงต้องห่างไม่เกิน 5 ซม.
บริเวณส่วนเว้าส่วนโค้งของร่างกาย (Shape area) – บริเวณส่วนน้อยที่ต้องปกปิดนี้ อนุญาตให้ใช้วัสดุหรือผ้าที่โปร่งใสได้ กรณีนี้ใช้สีอะไรก็ได้
วัสดุที่ใช้เป็นหลัก –
- ที่มีแสงสะท้อน (โลหะ, กากเพชร, เลื่อม, …)
- ที่ไม่มีแสงสะท้อน
การตกแต่ง – การใช้สิ่งต่างๆ ติดลงบนวัสดุที่เป็นหลัก, บนผม, ผิวหนัง
- ที่มีแสงสะท้อน (พลอยเทียม, เลื่อม, ลูกปัด, มุก, …)
- ที่ไม่มีแสงสะท้อน (ขนนก, ดอกไม้, โบว์, ไหมญี่ปุ่น, สิ่งถัก-ทอ, ริบบิ้น, …)
ที่หนีบไทด์, กระดุม, ผ้าพันคอ, หัวเข็มขัด ไม่ถือว่าเป็นสิ่งตกแต่ง
แนวของสะโพก (Hip Line) – ขอบกางเกงชั้นใน (ขนาดของความต่ำ)
แนวตรงของขอบ, แนวสูงสุดด้านบนอยู่บริเวณกล้ามเนื้อสะโพก (intergluteal line) ต้องไม่ดูโจ่งแจ้ง
ชุดเฉพาะเจาะจง
1. ชุดแข่งขันที่ได้รับอนุญาต
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีดำ
เนคไทหรือหูกระต่ายสีดำ
เสื้อไม่รัดรูปสีขาว
ชุดบอดี้สูทหรือทีเชิ๊ต
กระโปรงสีดำ
ชุดกระโปรงธรรมดา“สีเดียว”
ยกเว้นไม่ให้ใช้ “สีเนื้อ”
ชุดกระโปรง+กางเกงชั้นใน
ชุดบอดี้สูทพร้อมด้วยชุดกระโปรง
สีเดียวกัน
จูเวนไนล์
รายละเอียดการตัดเย็บ – ดูแบบตัวอย่างที่ 1
รายละเอียดการตัดเย็บ – ดูแบบตัวอย่างที่ 2
จูเนียร์ 1
เสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีขาว
เสื้อกั๊กสีดำ
กางเกงขายาวสีดำ
เนคไทหรือหูกระต่ายสีขาวหรือดำ
เชิ๊ตหรือเสื้อแขนยาว
สีขาวหรือดำเท่านั้น
เสื้อกั๊กสีดำก็ได้
กางเกงขายาวสีดำ
ชุดแจ็คเก็ตสูท
(กางเกงสีดำหรือกรมท่าแจ็คเก็ตสีดำหรือกรมท่า,เสื้อเชิ๊ตสีขาว,เนคไทสีดำหรือกรมท่า)
ชุดหางยาวสีดำ
(กางเกงสีดำ,
เสื้อหางยาวสีดำ,
ผ้าคาดเอวสีขาว,
เสื้อชั้นในที่ใช้กับเสื้อหางยาว,
หูกระต่ายสีขาว)
จูเนียร์ 2
ยูธท์
อเด้าท์
ซีเนียร์
เสื้อท่อนบนสีอะไรก็ได้
กางเกงขายาวสีอะไรก็ได้
ยกเว้นสีเนื้อ
ชุดแข่งขัน จูเนียร์ 1 -
ใช้สีอะไรก็ได้นอกจากสีเนื้อ
รุ่นอื่นๆ - ใช้สีอะไรก็ได้
ไม่อนุญาตให้ใช้ชุดที่เป็น 2 ท่อน
ความหมายของคำย่อ
IA – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ
PL – ส่วนที่เป็นกางเกงใน
SA – ส่วนที่เป็นส่วนเว้า - ส่วนโค้ง
(SHAPE)
HL – ส่วนที่เป็นสะโพก (HIP)
ชุดแข่งขัน จูเนียร์ 1 -
ใช้สีอะไรก็ได้นอกจากสีเนื้อ
รุ่นอื่นๆ - ใช้สีอะไรก็ได้
ท่อนบนและกางเกงชั้นใน
ต้องไม่ใช่บิกินี
2. เครื่องประดับที่มีแสง
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่ง
ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว
จูเนียร์ 1
ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่ง
ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว
ไม่อนุญาตให้ใช้วัสดุที่มีแสงแวววาวตกแต่ง
(ตกแต่งได้แต่ต้องไม่ใช้วัสดุที่มีแสงแวววาว)
ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
ไม่เข้มงวด
3. รองเท้า, ถุงเท้า, ถุงน่อง
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ส้นสูงไม่เกิน 2.5 ซม.
ต้องใส่ถุงเท้าสีดำ
ส้น block สูงไม่เกิน 3.5 ซม.
อนุญาตให้ใช้ถุงเท้าสั้นสีอะไรก็ได้
ไม่อนุญาตให้ใช้ถุงน่องตาข่ายแต่ใช้ถุงน่องสีเนื้อได้
จูเนียร์ 1
ส้นสูงไม่เกิน 5 ซม.
ใส่ถุงเท้าสั้นได้
ไม่อนุญาตให้ใส่ถุงน่องตาข่าย
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
รองเท้าไม่เข้มงวด
ต้องสวมถุงเท้าสีดำ
ไม่เข้มงวด
4. ทรงผม
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งทรงผมและใช้สเปร์ยที่มีสี
จูเนียร์ 1
ไม่อนุญาตให้ตกแต่งทรงผมที่มีแสงแวววาวหรือใช้สเปร์ยที่มีสี
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
ถ้าผมยาวต้องรวบเป็นหางม้า
ไม่เข้มงวด
5. การเม็คอัพ
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์, จูเนียร์ 1
ไม่อนุญาตให้แต่งหน้า
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
ไม่เข้มงวด
6. การตกแต่งเครื่องประดับ (ไม่ใช่เครื่องประดับส่วนตัว)
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ไม่อนุญาตให้ตกแต่งด้วยเครื่องประดับสะท้อนแสง
จูเนียร์ 1
อนุญาตให้ตกแต่งด้วยเครื่องประดับสะท้อนแสงได้
จูเนียร์ 2 – ซีเนียร์
ไม่เข้มงวด
แบบตัวอย่างที่ 1: ชุดแต่งกายของเด็กชายรุ่นจูเวนไนล์
เสื้อเชิ๊ต :
- เสื้อเชิ๊ตแขนยาวเรียบง่ายธรรมดา
- ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่ส่องประกายหรือผ้าที่มีลวดลายควรจะเป็นผ้าที่เป็นฝ้ายหรือใยสังเคราะห์
- ไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อคอปีก
- ห้ามพับแขนเสื้อ
- ต้องสอดเสื้อเข้าในกางเกง
แบบตัวอย่างที่ 2 : ชุดแต่งกายของเด็กหญิงในรุ่นจูเวนไนล์
A. ช่วงคอเสื้อ – ให้เจียนหรือตัด, วิธีอื่นไม่อนุญาต
B. แขนเสื้อ – ให้เจียนหรือตัด, วิธีอื่นไม่อนุญาต
C. กระโปรง
- อนุญาตให้เป็นกระโปรงเรียบหรือจับจีบตัดเย็บไม่น้อยกว่า 1 ครึ่งวงกลมและไม่เกิน 3 ครึ่งวงกลมเท่านั้น อนุญาตให้มีซับในธรรมดา 1 วงกลม ไม่อนุญาตให้มีซับในที่ใหญ่กว่านั้น
- ไม่อนุญาตให้มีการติดระบายบนตัวกระโปรงและชายกระโปรง การกุ้นหรือการแซกชายกระโปรง
- ความยาวของชายกระโปรงต้องอยู่เหนือเข่าไม่เกิน 10 ซม. และยาวได้ไม่เกินคลุมเข่า
- ไม่อนุญาตให้มีการตัดเย็บด้วยวิธีอื่นอีก
ตัวอย่าง

ประโยชน์ของการเต้นลีลาส


ประโยชน์ของการเต้นลีลาส
       จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้
1.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
2.  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน
3.  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
5.  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)
6.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
7.  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น
8.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม
9.  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย                                 

ประวัติลีลาศ


ประวัติความเป็นมาของกีฬาลีลาศ
คำว่า ลีลาศ หรือ เต้นรำ มีความหมายเหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปีพุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายดังนี้
ลีลาศ  เป็นนามแปลว่า  ท่าทางอันงดงาม  การเยื้องกราย  เป็นกิริยาแปลว่า  เยื้องกรายเดิน   นวยนาด
เต้นรำ  เป็นกิริยาแปลว่า  เคลื่อนที่ไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนด  ให้เข้ากับจังหวะดนตรี  ซึ่งเรียกว่า  ลีลาศ  โดยปกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง
คนไทยนิยมเรียกการลีลาศว่า  เต้นรำ มานานแล้ว คำว่าลีลาศตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“Ballroom Dancing” หมายถึง การเต้นรำของคู่ชายหญิงตามจังหวะดนตรีที่มีแบบอย่างและลวดลายการเต้นเฉพาะตัว โดยมีระเบียบของการชุมนุม ณ สถานที่อันจัดไว้ในสังคม ใช้ในงานราตรีสโมสรต่าง ๆ และมิใช่การแสดงเพื่อให้คนดู 
นอกจากนี้ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่มักจะได้ยินกันอยู่เสมอคือคำว่า  “Social  Dance”  ส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า  Ballroom  Dancing  แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาคำว่า  Social  Dance  หมายถึง  การเต้นรำทุกประเภทที่จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนมาอยู่ร่วมกัน  และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเต้นรำเป็นหมู่คณะ  เพื่อให้ได้ความสนุกสานเพลิดเพลิน  จึงกล่าวได้ว่า  Ballroom  Dancing  เป็นส่วนหนึ่งของ  Social  Dance 
อาจสรุปได้ว่า  ลีลาศ คือ กิจกรรมเข้าจังหวะประเภทหนึ่ง เป็นการเต้นรำที่แสดงออกอย่างมีศิลปะ โดยใช้เสียงเพลงและจังหวะดนตรีเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน มีลวดลายการเต้น (Figure) เป็นแบบเฉพาะตัว และมักนำลีลาศมาใช้ในงานสังคมทั่ว ๆ ไป
การเต้นรำถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการแสดงออกของบุคคล   ศิลปะการเต้นรำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ถูกค้นพบจากภาพวาดบนผนังถ้ำในแอฟริกาและยุโรปตอนใต้ ซึ่งศิลปะในการเต้นรำได้ถูกวาดมาไม่น้อยกว่า 20,000 ปี  พิธีกรรมทางศาสนาจะรวมการเต้นรำ การดนตรี และการแสดงละคร ซึ่งเป็นสิ่งในชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาก  พิธีกรรมเหล่านี้อาจเป็นการบวงสรวงเทพเจ้าเทพธิดา หรือจากการล่าสัตว์มาได้ หรือการออกสงคราม นอกจากนี้อาจมีการเฉลิมฉลองการเต้นรำด้วยเหตุอื่นๆ เช่น ฉลองการเกิด การหายจากเจ็บป่วย หรือการไว้ทุกข์
การเต้นรำของพวกที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพวกที่ไม่มีศาสนาในสมัยโบราณนั้น โดยเฉพาะในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง มีภาพวาด รูปปั้นแกะสลักและบทประพันธ์ของชาวอียิปต์โบราณ แสดงให้เห็นว่า การเต้นรำได้ถูกจัดขึ้นในพิธีศพ ขบวนแห่ และพิธีกรรมทางศาสนา ชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ทุกๆ ปีแม่น้ำไนล์จะหลากเมื่อน้ำลดจะทำการเพาะปลูก และมีการเต้นรำหรือแสดงละคร เพื่อขอบคุณเทพเจ้าโอซิริส (God Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตร นอกจากนี้การเต้นรำยังนำมาใช้ในงานส่วนตัวเพื่อความสนุกสนาน เช่น การเต้นรำของพวกข้าทาส ซึ่งจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนานและต้อนรับแขกที่มาเยือน
กรีกโบราณเห็นว่า การเต้นรำเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษา การบวงสรวงเทพเจ้า เทพธิดา และการแสดงละคร ปรัชญาเมธีพลาโต ให้ความเห็นว่า พลเมืองกรีกที่ดี ต้องเรียนรู้การเต้นรำเพื่อพัฒนาการบังคับร่างกายตนเอง ทักษะในการต่อสู้ ดังนั้นการเต้นรำด้วยอาวุธ จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางทหารของเด็กทั้งในรัฐเอเธนส์และสปาร์ต้า นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้ในการแต่งงาน ฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผล และในโอกาสอื่นๆ
การเต้นรำทางศาสนา เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดการละครของกรีก ระหว่าง 500 ปี ก่อน ค.ศ. การละครของกรีกเรียกว่า“Tragidies” ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวดในโบสถ์ และการเต้นรำเพื่อสรรเสริญเทพเจ้าดิโอนิซุส (God Dionysus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น การเต้นรำแบบ Emmeieia เป็นการเต้นรำที่สง่าภูมิฐาน ได้ถูกนำมาใช้ในละคร Tragedies โดยครูสอนเต้นรำจะต้องบอกเรื่องราวและชี้แนะท่าทางที่ต้องแสดงเพื่อให้จดจำได้ การแสดงตลกขบขันสั้นๆ ของกรีกเรียกว่า “Satyrs” ก็จัดอยู่ในการเต้นรำของกรีกด้วย
เมื่อโรมันรบชนะกรีก เมื่อ 197 ปี ก่อน ค.ศ. โรมันได้ปรับปรุงวัฒนธรรมการเต้นรำของกรีกให้ดีขึ้น การเต้นรำของโรมันคล้ายกับของกรีกที่เต้นรำเพื่อบวงสรวงเทพเจ้า หญิงชาวโรมันก็จะถูกฝึกให้เต้นรำ แม้แต่ชาวต่างชาติหรือพวกข้าทาสที่อยู่ในโรมันก็จะมีการเต้นรำด้วย ชาวโรมันจะเต้นรำหลังจากการเพาะปลูกหรือกลับจากสงคราม ในยุคนี้มีนักเต้นรำของโรมันที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซิซีโร (Cicero: 106-43 B.C.) ซึ่งเป็นผู้คิดและปรับปรุงลักษณะท่าทางการเต้นรำของโรมันให้ดีขึ้น
ยุคกลางเป็นยุคที่ค่อนข้างสับสนวุ่นวาย สังคมไม่สงบสุข โบสถ์มีอิธิพลต่อการเต้นรำของยุโรปมาก โบสถ์มีข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการเต้นรำ ทั้งนี้เป็นเพราะการเต้นรำบางอย่างถือว่าต่ำช้าและเพื่อกามารมณ์ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ชอบการเต้นรำมักจะหาโอกาสจัดงานเต้นรำขึ้นในหมู่บ้านของตนอยู่เสมอ ในปี ค.ศ. 300 บรรดาผู้ใช้แรงงานฝีมือ ได้จัดละครทางศาสนาขึ้นและมีการเต้นรำรวมอยู่ด้วย
ระหว่างปี ค.ศ. 300 กาฬโรคซึ่งเรียกว่า ความตายสีดำ ระบาดในยุโรป ทำลายชีวิตผู้คนไปมากจนทำให้ผู้คนแทบเป็นบ้าคลั่ง ประชาชนจะร้องเพลงและเต้นรำคล้ายคนวิกลจริตที่หน้าหลุมศพ ซึ่งเขาเรียกว่าการแสดงของเขาจะช่วยขับไล่สิ่งเลวร้ายและขับไล่ความตายให้หนีไปจากชีวิตความเป็นอยู่ของเขา
ในยุคกลางยุโรปยังมีการเฉลิมฉลองการแต่งงาน วันหยุด และประเพณีต่างๆตามโอกาสด้วย การเต้นรำพื้นเมือง ผู้ใหญ่และเด็กในชนบทจะจัดรำดาบ และเต้นรำรอบเสาสูงที่ผูกริบบิ้นจากยอดเสา (Maypoles) พวกขุนนางที่ไปพบเห็นก็ได้นำมาพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น การเต้นรำแบบวงกลมของบรรดาขุนนางซึ่งเรียกว่า “Carol” เป็นการเต้นรำที่ค่อนข้างช้า ในช่วงปลายยุคกลาง การเต้นรำถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนแห่ต่างๆหรือในงานเลี้ยงที่มีเกียรติ
ยุคฟึ้นฟูเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ยุคฟื้นฟูเริ่มในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 300 ในช่วงปลายสมัยกลางแล้วแผ่ขยายไปในยุโรป ปี ค.ศ. 300 ในอิตาลี ขุนนางที่มั่นคงในเมืองต่างๆ จะจ้างครูเต้นรำอาชีพมาสอนในคฤหาสน์ของตนเรียกการเต้นรำสมัยนั้นว่า Balli หรือ Balletti ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี แปลว่า การเต้นรำ
ในปี ค.ศ. 1588 พระชาวฝรั่งเศสชื่อโตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau: ค.ศ. 1519-1589) ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำชื่อ ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆ หลายแบบ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก บันทึกถึงการเต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16
งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น วันเกิด การแต่งงาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์ การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lorenzo de Medlci ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง รวมทั้งการเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ ดนตรีประกอบการเต้น
พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี (Catherine de Medicis) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์ พระองค์ได้จัดให้มีการแสดงบัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้ง             โรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อยกว่า 200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญานามว่า พระราชาแห่งดวงอาทิตย์ การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก
การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่Gavotte, Allemande และMinuet รูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอนสายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก   การเต้นรำในอังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป เรียกว่า Country Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา
ยุคโรแมนติกเป็นยุคที่มีการปฏิรูปเรื่องบัลเล่ย์ในสมัยนี้นักเต้นรำมีความเป็นอิสระเสรีในการเคลื่อนไหวและการแสดงออกของบุคคล สมัยก่อนการแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและจินตนาการ
ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป เกิดความรู้สึกอย่างใหม่คือ ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้นLandler การเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก    เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอวของคู่    เต้นรำได้   จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย
ในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900 การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง
ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน คนผิวดำนิยมเต้น Tap-Dancedหรือระบำย่ำเท้า โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา การเต้นแบบจิ๊ก (jig) ของชาวไอริส และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog)ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทาง
ก่อนปี ค.ศ. 1870 การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน (Can-Can) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน-แคน มีจุดกำเนิดมาจากฝรั่งเศส
จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้เผยแพร่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816จังหวะวอลซ์ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4 แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้
ในราวปี ค.ศ. 1840 การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า (Mazuka) จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก
ในราวกลางศตวรรที่ 19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston)และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)
ในศตวรรษที่ 20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมาก
ในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
ปี ค.ศ. 2461 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้เลือกเฟ้นจังหวะเต้นรำทั้งบอลล์รูมและลาตินอเมริกาเรียบเรียงขึ้นเป็นตำรา วางหลักสูตรของแต่ละจังหวะรัดกุม ในสมัยนี้ประเภทบอลรูม มีเพียง 4 จังหวะคือ วอลซ์ ควิกวอลซ์ สโลว์ฟอกซ์ทรอทและแทงโก้
ปี ค.ศ. 1920 ในอเมริกาเริ่มนิยมจังหวะ Paso-Doble และการเต้นรำแบบก้าวเดียวสลับกัน (One-step) ซึ่งเรียกกันว่า Fast fox-trot
ปี ค.ศ. 1925 จังหวะชาร์ลตัน (Charleston) เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นคล้ายทูสเตป และในปีเดียวกันนี้ Arthur Murrayก็ได้ให้กำเนิดการเต้นรำแบบสมัยใหม่ (Modem Dances) ขึ้น การเต้นรำแบบสมัยใหม่นี้เป็นการเต้นรำที่แสดงออกถึงจินตนาการของแต่ละบุคคล ไม่มีท่าเต้นที่แน่นอนตายตัว บางครั้งก็นำท่าบัลเล่ย์มาผสมผสานด้วย
ปี ค.ศ. 1929 จังหวะจิตเตอร์บัก (Jittebug) เริ่มเป็นที่นิยม รูปแบบการเต้นต้องอาศัยยิมนาสติก การเบรก และการก้าวเท้าย่ำเร็วๆ ในปีเดียวกันอิทธิพลจากเพลงแจ๊สของอเมริกา ทำให้เกิดจังหวะควิกสเตปขึ้น เป็นจังหวะที่ 5 ของบอลรูม
ปี ค.ศ. 1929 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการลีลาศ (Official Board of Ballroom Dancing) ขึ้นในประเทศอังกฤษและจัดการแข่งขันเต้นรำในอังกฤษทุกปี
ปี ค.ศ. 1930 การเต้นรำของชาวคิวบา (Cuban Dance) ก็เป็นที่นิยมมากในอเมิกา คือจังหวะคิวบันรัมบ้า หรือจังหวะรัมบ้า
ปี ค.ศ. 1939 บรรดาครูลีลาศและผู้ทรงคุณวุติทางลีลาศในอังกฤษได้ร่วมกันวางกฏเกณฑ์ของลวดลายต่างๆ ในลีลาศเพื่อให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน ในแต่ละจังหวะมีประมาณ 20 ลวดลาย
ปี ค.ศ. 1940 การเต้นคองก้าและแซมบ้าจากบราซิลก็เป็นที่นิยมกันมาก
ปี ค.ศ. 1950 ได้จัดตั้งสภาการลีลาศระหว่างชาติ (International Council of Ballroom Dancing) โดยใช้ชื่อย่อว่า I.C.B.D.และในปีเดียวกันนี้มีจังหวะใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่อีก เช่น จังหวะแมมโบ้จาก คิวบา ชา ชา ช่า จากโดมินิกัน และเมอเรงเก้จากโดมินิกันเช่นกัน
ปี ค.ศ. 1959 จัดแข่งขันลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกขึ้นที่ประเทศอังกฤษ โดยจัดทั้งประเภทสมัครเล่นและอาชีพ ตามกฏเกณฑ์ที่สภาการลีลาศระหว่างชาติกำหนด นอกจากนี้สภาการลีลาศระหว่างชาติได้กำหนดจังหวะมาตรฐานไว้ 4 จังหวะ คือ วอลซ์ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ และควิกสเตป ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะที่มีการจัดการแข่งขันมี วอลซ์แบบอังกฤษ ฟอกซ์ทรอท แทงโก้ ควิก สเตป และเวนิสวอลซ์ นอกจากนี้อมริกาและอังกฤษได้แนะนำร็อคแอนด์โรคให้ชาวโลกได้รู้จัก
ปี ค.ศ. 1960 มีจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้นในอเมริกาโดยคนผิวดำคือ จังหวะทวิสต์ การเต้นจะใช้การบิดลำตัว เข่าโค้งงอ การเต้นจะไม่แตะต้องตัวกับคู่คือต่างคนต่างเต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวะฮัสเซิล (Hustle) และจังหวะบัสสาโนวา (Bossanova) ซึ่งดัดแปลงจากแซมบ้าของบราซิล
ปี ค.ศ. 1970 นิยมการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco) ซึ่งค่อนข้างเต้นแบบอิสระมาก
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้มีการเต้นรำใหม่ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ เช่น แฟลชดาน (Flash Dances) เบรกดานซ์ (Brake Dances)ซึ่งมักจะเริ่มจากพวกนิโกรในอเมริกา และยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีซึ่งเรียกว่า แอโรบิคดานซ์ (Aerobic Dances) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ การเต้นรำแบบต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดเป็นการลีลาศ
นอกจากนี้ จังหวะเต้นรำก็เกิดขึ้นใหม่ๆ อีกหลายจังหวะเช่น สลูปปี้ เจอร์ค วาทูซี่ เชค อโกโก้ แมทโพเตโต้ บูการลู ซึ่งจัดเป็นการเต้นรำสมัยใหม่อยู่ ไม่จัดเป็นการลีลาศเช่นกัน
การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด  แต่จากบันทึกของแหม่มแอนนา  ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า  เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่   และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า  ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ  ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ  ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก  พร้อมกับแสดงท่า  และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก  มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป  ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ  ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า  พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก  และพระองค์ท่านก็เต้นให้ดู  จนแหม่มแอนนาถึงกับงง  จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์  ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์  สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน     พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้
ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น โลลิต้า และคาร์เธ่ย์
ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ  สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ โดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น         หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิตหลวงสุขุม               นัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล สถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือวนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว     มักจัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปี้ยนคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และคุณประนอม สุขุม
ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า  คำว่า  เต้นรำ  เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู     ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหรือแสดงในเมืองไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่  ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่       เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมหรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ในเมืองไทย ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2เช่น คุณกวี กรโกวิท , คุณอุไร โทณวนิก , คุณจำลอง มาณยมฑล             คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์  เป็นผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่   สิงหาคม  พ.ศ. 2491  ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ”  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  2491  โดยมีหลวงประกอบนิติสาร  เป็นนายกสมาคมคนแรก  ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย  เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติ   ด้วยประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก  มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น  มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น  มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ  และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย  ในสมัยจอมพลสฤษณ์  ธนะรัตต์  ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ  สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ  และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน  มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด  ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา  ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา  จนถึงระดับอุดมศึกษา
มีการรวบรวมการเต้นรำจากหลายประเทศ มาวางรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน และแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ Standardและ Latin American ซึ่งมีการใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในทวีปยุโรป และมีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อบริหารจัดการในระดับนานาชาติ ที่สำคัญแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม WD&DSC ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นครูลีลาศและนักลีลาศอาชีพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนกลุ่ม IDSF ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักลีลาศสมัครเล่น มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์
                ในปี 1991 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจนำโดย นายจรัญ เจียรวนนท์ ได้รวบรวมกลุ่มนักธุรกิจ ก่อตั้งสมาคมลีลาศสมัครเล่นประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศ โดยมีนายสุชัย เพียรพัฒนางกูร เป็นอุปนายกดูแลงานด้านการต่างประเทศ และได้เข้าเป็นสมาชิกของ IDSF ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ หลังจากเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติหลายครั้ง จึงได้ทราบว่า วิธีเดียวที่จะส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศให้สำเร็จ คือ จะต้องผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรองว่าการลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากมีการออกกำลังกายจำนวนมาก ยื่นขอให้โอลิมปิกสากลรับรอง และการจะให้โอลิมปิกสากลรับรอง ก็มีเงื่อนไขมากมาย
 หลังจากการประชุมระดับนานาชาติแล้ว ทางอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ ก็ได้เริ่มทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลีลาศ รวมทั้งการเดินทางไปในหลายประเทศ ที่เป็นต้นกำเนิดของจังหวะการลีลาศ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศบราซิล และประเทศออสเตรีย จึงทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น จากนั้น ก็ได้หาข้อมูลว่าโอลิมปิกสากลมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หลังจากศึกษารายละเอียดแล้วสรุปได้ว่า มีเงื่อนไขที่สำคัญมากอยู่ 2 ประการ คือ
1. ต้องเป็นสิ่งที่แพร่หลายในหลายทวีปทั่วโลก ไม่ใช่แพร่หลายเฉพาะในทวีปยุโรป
2. ต้องมีองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว สามารถจัดการควบคุมองค์กรสมาชิกได้ทั่วโลก ไม่ใช่มี 2 องค์กร และขัดแย้งกันมาก เช่นIDSF และ WD&DSC
ทางอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ จึงได้มีแนวความคิดว่า การลีลาศแพร่หลายมากเฉพาะในทวีปยุโรป IDSF และ WD&DSCต่างก็ขัดแย้งกันมาก ซึ่งผิดเงื่อนไขของโอลิมปิกสากล จึงไม่มีทางที่โอลิมปิกสากลจะให้การรับรอง แต่ถ้าสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น และกระจายไปในทุกทวีปทั่วโลก จะทำให้มีความสามารถในการผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรอง IDSF ได้ง่ายขึ้น
ในปี 1994 นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้ติดต่อหารือกับประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ถึงแนวความคิดที่จะก่อตั้ง สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งทวีปเอเชีย (ADSF) ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเห็นด้วย และมีการปรึกษาหารือกันหลายครั้งในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และฝรั่งเศส เพื่อทำความเข้าใจและขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกทั่วโลก ในการก่อตั้ง ADSF ซึ่งมีอุปสรรคปัญหามากมาย รวมทั้งการแก่งแย่งกันเป็นผู้นำในทวีปเอเชีย และการไม่ต้องการให้มีการแยกตัวไปตั้ง ADSF จึงต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ในการประชุมหลายประเทศ จนได้รับการอนุมัติจากการประชุม IDSF ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้งสำเร็จในการประชุมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในปี 1996 และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม ต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก ทางประเทศสมาชิกจึงสนับสนุนให้ นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร ขึ้นเป็นประธานก่อตั้งของ ADSF
หลังจากนั้น จึงได้เริ่มเพิ่มจำนวนสมาชิกอีกหลายสิบประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย และทวีปอื่นๆทั่วโลก ขณะเดียวกัน ADSF ก็เริ่มวางกฎระเบียบการแข่งขัน การฝึกอบรมกรรมการตัดสินให้เป็นมาตรฐาน และติดต่อประสานงาน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกของโอลิมปิกคอมมิตี้เอเชีย (OCA) โดยได้รับความสนับสนุนและร่วมมือเต็มที่จาก MR.WEI JI ZHONG จึงทำให้ ADSF มีความเข้มแข็งมากในทวีปเอเชีย และได้ร่วมมือกับ IDSF ในการผลักดันให้ IOC รับรอง แต่ยังติดปัญหาการคัดค้านจาก WD&DSC นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เสนอในที่ประชุม IDSF ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้ WD&DSC เข้าเป็น Associate Member หรือสมาชิกร่วม เพื่อให้ IOC รับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่ง WD&DSC เห็นด้วย
นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เริ่มขอเสียงสนับสนุนจาก IOC Member ในทวีปเอเชีย ไปรวมกับเสียงของ IOC Memberในทวีปยุโรป ให้การสนับสนุนลีลาศเป็นกีฬา โดยมี IDSF เป็นองค์กรหลักในการควบคุม ซึ่งประสพความสำเร็จในที่ประชุม IOCเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต้นปี 1998
ต่อมาได้รับทราบจาก IOC Member ในทวีปยุโรปว่า ถึงแม้จะได้รับการรับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง แต่อย่าหวังจะได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เนื่องจาก IOC มีนโยบายจะลดจำนวนประเภทกีฬา และยังมีกีฬาจำนวนมากที่ขอเข้าแข่งขัน แต่ไม่ได้รับการพิจารณา
นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงมีความคิดว่า ถ้าวันนี้ไม่มีโอกาส การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอนาคตคงจะยาก จึงมีความคิดว่า ถ้าสามารถผลักดันให้เข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ หรือกีฬาโอลิมปิกของทวีปเอเชียไว้เป็นพื้นฐานอนาคต ถ้าโอลิมปิกสากล IOCมีนโยบายเพิ่มประเภทกีฬา ก็จะสามารถบรรจุเข้าแข่งขันได้เลย จากนั้น จึงได้เริ่ม Lobby IOC Member ในทวีปเอเชีย ให้สนับสนุนกีฬาลีลาศเข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ จนกระทั่งประสพความสำเร็จ OCA อนุมัติให้กีฬาลีลาศบรรจุเข้าเป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อปลายปี 1998 ที่กรุงเทพฯ
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) ได้ประกาศว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่กีฬาลีลาศ ได้รับการบรรจุเข้าแข่งขัน ในการแข่งขันของกลุ่มโอลิมปิกสากล ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กีฬาลีลาศ มีโอกาสบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในอนาคต