หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กฏ กติกาของการเต้นลีลาศ


กติกาข้อที่ 1
องค์กรที่ดำเนินการควบคุมดูแล
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) เป็นองค์กรที่กำกับดูแลการแข่งขันกีฬาลีลาศและนักกีฬาลีลาศ, รวมไปถึงการแข่งขันของสมัครเล่นทุกระดับชั้น, ในแต่ละประเทศตลอดจนถึงประเทศที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และที่เป็นระดับสากล
กติกาข้อที่ 2
การประยุกต์ใช้กติกา
1. กติกาข้อนี้ให้ประยุกต์ใช้กับการแข่งขันกีฬาลีลาศนานาชาติ ซึ่งจัดโดยองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ รวมถึงการแข่งขันประเภท Standard, Latin American, New Vogue, American Style, Rock’n Roll, Old Time, Modern และ Latin Sequence สำหรับกติกาของ Rock’n Roll ให้ใช้กติกาที่กำหนดโดยสมาพันธ์ เวิลด์ ร็อค แอนด์ โรล (World Rock’n Roll Confederation) ซึ่งเป็นสมาชิกร่วมของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
2. คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับกติกาได้หรือไม่
3. สำหรับรายการแข่งขันที่เป็นกรณีพิเศษ
4. ผู้เข้าร่วมในการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะต้องสังกัดในองค์กรที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
กติกาข้อที่ 3
เงินรางวัล
ในการแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เงินรางวัลสามารถที่จะจ่ายให้ได้เท่ากับทางสหพันธ์ฯ จ่ายให้กับการแข่งขันเวิลด์ โอเพ่น (IDSF World Open) แต่ถ้าผู้ที่จัดการแข่งขันกำหนดเงินรางวัลไว้สูงกว่าการแข่งขันเวิลด์ โอเพ่น ของสหพันธ์ฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน
กติกาข้อที่ 4
การโฆษณา
1. ในการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ คู่แข่งขันจะติดป้ายโฆษณาของผู้ให้การสนับสนุนได้ไม่เกิน 2 ราย บนชุดสำหรับแข่งขันและให้มีขนาดไม่เกิน 40 ตารางเซนติเมตร ต่อผู้ให้การสนับสนุน 1 ราย ตำแหน่งที่ติดป้ายจะอยู่ที่บริเวณเอว หน้าอก หรือแขนเสื้อ ป้ายโฆษณาจะติดอยู่ที่ฝายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้ หรือฝ่ายหญิง 1 ราย ฝ่ายชาย 1 รายก็ได้
2. โฆษณาที่จะลงบนหมายเลขประจำตัวของผู้แข่งขันจะต้องมีขนาดไม่เกิน 20% ของขนาดหมายเลขประจำตัวผู้เข้าแข่งขัน
กติกาข้อที่ 5
ระดับของการแข่งขัน
5.1 การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Championships)
5.1.1 รุ่นผู้ใหญ่(Adult) เยาวชน(Youth) และยุวชน II (Junior II)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนโลกของ IDSF ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะSamba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภทOver Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American)
ตามกติกาข้อที่ 14 ข้อที่ 2-13 ให้ใช้กับรุ่นผู้ใหญ่เท่านั้น
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค) จำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์มีสิทธิ์ส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่
การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนโลก
สมาคมต่าง ๆ สามารถส่งคู่เข้าแข่งขันได้ 1 คู่
การแข่งขัน Formation ชิงแชมป์เปี้ยนโลก
แต่ละสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันรวม 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.1.2 รุ่นอาวุโส (Senior)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนโลกรุ่นอาวุโสของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะ Waltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิส่งผู้เข้าแข่งขันได้ 2 คู่
ง) การจ่ายค่าตอบแทน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะรับผิดชอบจ่ายค่าที่พักให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 1 คืนแต่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนค่าใช้จ่ายของประธานกรรมการ และกรรมการผู้ตัดสินให้เป็นไปตามกฏข้อที่ 8
จ) เกณฑ์อายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นอาวุโสนานาชาติ อย่างน้อยทั้งคู่จะต้องมีอายุครบ 35 ปีบริบูรณ์ ในปีที่มีการแข่งขัน
5.2 การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Continental Championships)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนระดับภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American),
ตามกฎข้อที่ 14, ข้อที่ 2-13
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
ก. ทุกๆสมาชิกของสหพันธ์ฯ มีสิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 2 คู่
ข. การแข่งขัน Ten Dance ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปของสหพันธ์ฯ กำหนดให้แต่ละสมาคมส่งคู่เข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ เท่านั้น
ค. การแข่งขันประเภท Formation ชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์ฯ สมาชิกของสหพันธ์ฯ จะถูกเชิญเข้าร่วมการแข่งขันสมาคมละ 2 ทีมในแต่ละรายการ
ง) การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.3 การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF Sub-Continental Championships)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาลีลาศชิงแชมป์เปี้ยนภาคพื้นอนุทวีปยุโรป มีดังนี้
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ อย่างน้อย 4 สมาคม
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่ได้รับเชิญแต่ละสมาคม มีสิทธิ์ที่จะส่งตัวแทนเข้าร่วมในการแข่งขันสมาคมละ 2 คู่ ผู้จัดการแข่งขันอาจเชิญ 1 คู่ จากประเทศที่เข้าร่วม
ง) การจ่ายค่าตอบแทน
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.4 การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
(IDSF World Ranking Tournaments)
การแข่งขันสะสมคะแนนเพื่อจัดอันดับโลกมี 4 ประเภทด้วยกัน
ก) การแข่งขันซุปเปอร์เวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Super World Cup)
ข) การแข่งขันเวิลด์โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cup)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขันเวิลด์โอเพ่นในประเภท Standard และ Latin Americanโดยจะมีเงินรางวัลและการสะสมคะแนนในการจัดอันดับโลกโดยคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์
ค) การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล โอเพ่นของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF International Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะจัดการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลโอเพ่นในประเภท Standard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวณโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ง) การแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open)
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะจัดการแข่งขัน ไอ ดี เอส เอฟ โอเพ่น (IDSF Open) ในประเภทStandard และLatin American โดยมีคะแนนสะสมซึ่งคำนวณโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการจัดอันดับโลกประกอบกับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
อนึ่ง ในรายละเอียดของระเบียบการแข่งขันที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นครั้งๆ ไป
5.5 การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions)
ก. คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่น
นอกจากการแข่งขันประเภททีมแมทช์ และการแข่งขันประเภทแปรขบวนหมู่ ให้เปรียบเสมือนเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ซึ่งต้องมีคู่เข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อย 4 ประเทศ
ข. การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมในการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค. การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนของผู้เข้าร่วมการแข่งขันให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.6 การแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น สำหรับ ฟอร์เมชั่น – ทีม
(International Invitation Competitions for Formation - Teams)
ก) คำจำกัดความของการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนลอินวิเทชั่นสำหรับฟอร์เมชั่น - ทีม
การแข่งขันนี้อาจใช้ชื่อว่า “การแข่งขันฟอร์เมชั่นนานาชาติ” ถ้ามี ฟอร์เมชั่น - ทีมส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันไม่น้อยกว่า 4 ประเทศ
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญเฉพาะสมาชิกของสหพันธ์ฯ เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้น หรือมิเช่นนั้นให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
ค) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
5.7 การแข่งขันเวิลด์คัพของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF World Cups)
ก) ประเภทของการแข่งขัน
การแข่งขันเวิลด์คัพส์ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน:
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
ค) การกำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน:
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติที่ได้รับเชิญสามารถส่งคู่แข่งขันเข้าร่วมการแข่งขันได้เพียง 1 คู่
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.8 การแข่งขันชิงถ้วยของภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF Continental Cups)
ก) ประเภทของการแข่งขัน:
การแข่งขันชิงถ้วยภาคพื้นทวีปยุโรปของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
กค) ประเภท Over Ten Dance (Standard และ Latin American)
กง) ประเภท Formation (Standard และ Latin American), ทั้งนี้ให้ดูกติกาข้อที่ 14 ข้อย่อยที่ 2 - 13 ประกอบ
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน:
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติจะเชิญไปยังทุกๆ สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่มีที่ตั้งตามทวีปต่างๆ ทั้งนี้ในระบบทางการกีฬาให้ถือว่าประเทศอิสราเอลจัดอยู่ในกลุ่มทวีปยุโรป
ค) การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ที่ได้รับเชิญสามารถส่งเข้าร่วมการแข่งขันได้สมาคมละ 1 คู่ / 1 ทีม – ฟอร์เมชั่น
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทนให้ดูกติกาข้อที่ 8
5.9 การแข่งขันทีมแมทช์นานาชาติ (International Team Matches)
ก) ประเภทของการแข่งขัน:
การแข่งขันทีมแมทช์นานาชาติ ประกอบด้วย
กก) ประเภท Standard (จังหวะWaltz, Tango, Viennese, Slow Foxtrot และ Quickstep)
กข) ประเภท Latin American (จังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive)
ข) การเชิญเข้าร่วมการแข่งขัน
การแข่งขันทีมแมทช์ นานาชาติ เป็นการจัดการแข่งขันที่ตกลงกันเองระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ โดยจัดขึ้นเพียงปีละหนึ่งครั้งในประเทศและระหว่างสมาชิกของสหพันธ์เดียวกัน
ค) การกำหนดจำนวนคู่ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ( คำจำกัดความของคำว่า “ทีม” )
ในแต่ละทีมต้องมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 4 คู่ คัดเลือกจากการจัดอันดับคะแนนสะสมของแต่ละประเทศ และต้องไม่มีการเปลี่ยนคู่ในระหว่างที่มีการแข่งขัน
ง) การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ
การจ่ายค่าตอบแทน ให้ตกลงกันเองโดยอิสระระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ ที่เกี่ยวข้อง
5.10 การแข่งขันประเภทโอเพ่น (Open Competitions)
เป็นการแข่งขันที่เปิดให้เข้าร่วมเฉพาะคู่แข่งขันของสมาคม ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติเท่านั้น คู่แข่งขันที่มาจากประเทศหรือสมาคมใดที่มิได้อยู่ในเครือของสหพันธ์ฯ หากจะเข้าร่วมทำการแข่งขันต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ ก่อน
5.11 ระยะเวลาที่อนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันและอัตราความเร็วของจังหวะดนตรี
ในทุกรอบของการแข่งขัน ระยะเวลาของดนตรีที่ใช้สำหรับจังหวะจังหวะWaltz , Tango , Slow Foxtrot , Quickstep , Samba , Cha Cha Cha , Rumba และ Paso Doble จะต้องมีอย่างน้อย 1 นาทีครึ่ง สำหรับในจังหวะ Viennese Waltz และ Jive จะต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 นาที และไม่เกินหนึ่งนาทีครึ่ง, ประธานผู้ตัดสินอาจให้ระยเวลาของดนตรีเพิ่มขึ้นตามความวินิจฉัยของเขา/หล่อน เพื่อความจำเป็นสำหรับการตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในจังหวะของการแข่งขันในแต่ละรายการ
อัตราความเร็วของจังหวะดนตรีในแต่ละรูปแบบของการลีลาศมีดังนี้
Waltz 28-30 บาร์ต่อนาที Samba 50-52 บาร์ต่อนาที
Tango 31-33 บาร์ต่อนาที Cha Cha Cha 30-32 บาร์ต่อนาที
Viennese Waltz 58-60 บาร์ต่อนาที Rumba 25-27 บาร์ต่อนาที
Slow Foxtrot 28-30 บาร์ต่อนาที Paso Doble 60-62 บาร์ต่อนาที
Quickstep 50-52 บาร์ต่อนาที Jive 42-44 บาร์ต่อนาที
ประเภทของดนตรี
ในทุกรายการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ดนตรีที่ใช้จะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวะที่ใช้ในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทดิสโก้ ในการลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน
5.12 กฎระเบียบที่เข้มงวด
1. ในการแข่งขันทุกรายการที่ได้รับการรับรองโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติภายใต้กติกา ข้อที่ 5 มีกฎระเบียบที่เข็มงวดอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ ระเบียบการแต่งกายของนักลีลาศที่อยู่ในทุกเกณฑ์อายุของรุ่นเด็ก (Juveniles)
กฎระเบียบที่เข้มงวดใดๆ ที่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งขึ้นโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการที่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยทั่วถึงให้สมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติได้ทราบล่วงหน้า หลังจากที่ประกาศไปแล้ว 12 เดือน
2. กฎระเบียบที่เข็มงวดจะต้องถูกสังเกตเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากชาติของสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และต้องได้รับการยืนยันจากสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
3. ผู้ทรงคุณวุฒิร้องเรียนไปถึงประธานกรรมการ ในข้อที่ว่ามีการทำผิดกฏระเบียบขึ้นในรอบแรกของการแข่งขันคู่แข่งขันจะได้รับคำเตือนจากประธานกรรมการ หากมีการทำผิดกฏระเบียบซ้ำขึ้นอีกในรอบถัดไป หรือถึงรอบสดท้าย คู่แข่งขันจะถูกประธานกรรมการตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 6
สิทธิในการจัดการแข่งขัน
1. คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีสิทธิอันชอบธรรมในการจัดการแข่งขันตามกติกา ข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-8 และมีสิทธิในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม (ดูกฏระเบียบว่าด้วยการเงิน)
การแข่งขันเหล่านี้ ยกเว้นการแข่งขันที่อยู่ภายใต้กติกาข้อ 5 ข้อย่อยที่ 5 และ 6 จะต้องมีจดหมายเวียนล่วงหน้าไปยังเหล่าสมาชิก ในกรณีที่เป็นพิเศษ คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีอำนาจที่จะจัดการแข่งขัน โดยออกคำสั่งโดยตรงให้กับเมืองหรือประเทศที่เป็นสมาชิกฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
2. การจัดการแข่งขันตามกฏกติกาข้อ 5 ย่อหน้าที่ 5 ต้องมีการรับรองจากสหพันธ์กีฬาลีลาศและต้องเสียค่าลงทะเบียน 20,00. CHF ซึ่งองค์กรที่จัดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกขององค์กรด้วย
กติกาข้อที่ 7
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน
การเชิญเข้าร่วมแข่งขัน ในการแข่งขันอินเตอร์เนชั่นแนล อินวิเทชั่น (International Invitation Competitions) จะต้องดำเนินการขึ้นระหว่างสมาคมที่เป็นสมาชิก การเชิญต้องระบุวันที่ ที่ได้ลงในทะเบียนการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
กติกาข้อที่ 8
การชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
การชดเชยค่าใช้จ่ายขั้นต่ำต่างๆ ให้กับคู่แข่งขัน ประธานและกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันครอบคลุมไปถึง กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 , 7 และ 8 ให้เป็นสิทธิ์ขาดของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ
สมาชิกจะต้องระบุจำนวนเงินล่วงหน้า
กติกาข้อที่ 9
การใช้สารต้องห้าม
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติมีกฎข้อห้ามมิให้มีการใช้สารต้องห้าม ซึ่งเป็นไปตามกฎระเบียบการควบคุมห้ามใช้สารต้องห้าม
กติกาข้อที่ 10
วิธีการสำหรับการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่าง ๆ
1. ประธานกรรมการผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ เป็นผู้ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแลการแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติใดๆ ที่สหพันธ์ฯ ไม่ได้มีการแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน - ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานผู้ตัดสิน ( ที่ไม่ต้องลงคะแนน ) เอาเอง
2. กรรมการผู้ตัดสิน
ในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a-c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภททีมแมทช์ ( Team Matches )
3. สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องถือใบอนุญาตเป็นผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
4. กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5, ข้อย่อยที่ 1-4 a+b , 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
5. สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
6. ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องได้รบการรับรองเป็นทางการโดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
7. กรรมการผู้ตัดสินจะต้องไม่ทำการตัดสินการแข่งขันและต้องถอนตัวออกจากคณะกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันนั้น หากพบว่ามีคู่แข่งขันคนใดคนหนึ่งเป็นเครือญาติหรือครอบครัวของตัวเอง รวมไปถึงการมีพันธะ
ผูกพัน หรือความสัมพันธ์ส่วนตัว สำหรับคำที่เข้าใจง่ายและชัดเจนคือ “การมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติ” รวมไปถึงการมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือการแต่งงาน, การเป็นญาติที่ใกล้ชิดหรือลูกบุญธรรม หรือเป็นบุคคลที่ผู้ตัดสินอยู่อาศัยด้วยและการอยู่กินกันฉันสามีภรรยากัน
กติกาข้อที่ 11
การกำหนดเกณฑ์อายุ
1. การแบ่งเกณฑ์อายุดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ และระดับชิงแชมป์เปี้ยนต่างๆ
รุ่นเด็กระดับ I (Juvenile I) นับถึงอายุ 9 ปี หรือต่ำกว่าในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
รุ่นเด็กระดับ II (Juvenile II) นับถึงอายุ 10-11 ปีในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
ยุวชนระดับ I (Junior I) นับถึงอายุ 12-13 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
ยุวชนระดับ II (Junior II) นับถึงอายุ 14-15 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
เยาวชน (Youth) นับถึงอายุ 16-17 และ 18 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
ผู้ใหญ่ (Adult) นับถึงอายุ 19 ปี ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
อาวุโส (Senior I) นับถึงอายุ 35 ปี หรือ มากกว่า ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
อาวุโส (Senior II) นับถึงอายุ 45 ปี หรือ มากกว่า ในปีปฏิทินที่มีการแข่งขัน
อนุญาตให้กลุ่มอายุ 2 กลุ่ม สามารถเข้าแข่งขันร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น รุ่นเด็กระดับ I และ II และรุ่นยุวชนระดับ I และ II ก็เช่นเดียวกัน รุ่นเยาวชนก็อนุญาตให้เข้าร่วมในการแข่งขันของรุ่นผู้ใหญ่ได้ ในกลุ่มเกณฑ์อายุของทุกรุ่น คู่เต้นคนใดคนหนึ่งสามารถมีอายุน้อยกว่าได้ ยกเว้นในรุ่นอาวุโส
2. ในการสมัครชื่อคู่แข่งขันเข้าร่วมในการแข่งขัน สมาชิกของผู้จัดการแข่งขันต้องแจ้ง วัน เดือน ปี ที่เกิด แก่ผู้จัดการแข่งขัน
กติกาข้อที่ 12
เครื่องแต่งกายในการแข่งขัน
สำหรับการแข่งขันทุกรายการที่ได้จัดขึ้นโดยสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ภายใต้กติกาข้อที่ 5 การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขันให้ปฏิบัติสอดคล้องกับระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบว่าด้วยการแต่งกายสำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฯ เหล่านี้ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของกติกาการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
สำหรับทุกๆ เกณฑ์อายุ
ส่วนสะโพกของฝ่ายหญิงต้องปกปิดไว้ให้มิดชิดตลอดเวลา ประธานกรรมการหรือผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ มีอำนาจที่จะตัดสิทธิ์คู่แข่งขันที่สวมใส่ชุดแข่งขันที่ไม่เป็นไปตามกฏระเบียบของข้อนี้ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ จะลงโทษทางวินัยตัดสิทธิ์ไม่ให้คู่แข่งขันเข้าร่วมในการแข่งขันต่างๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
กติกาข้อที่ 13
คู่แข่งขัน
1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน
คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วยชาย 1 คน คู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน
2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
2.1 คู่แข่งขันหนึ่งคู่สามารถเป็นตัวแทนได้เพียงหนึ่งประเทศในทุกรายการแข่งขันในระดับชิงแชมเปี้ยน หรือชิงถ้วยรางวัลของสหพันธ์ๆ ถ้าคู่แข่งขันคนใดคนหนึ่งถือครองหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุของประเทศที่เป็นตัวแทนขณะที่ขึ้นทะเบียนและอยู่ในช่วงเวลาที่ตรงกับการแข่งขัน
2.2 คู่แข่งขันหนึ่งคู่สามารถเป็นตัวแทนได้เพียงหนึ่งประเทศในทุ่กรายการแข่งขันในระดับนานาชาติ แต่ละคู่แข่งอนุญาตให้เข้าร่วมแข่งขันโดยเป็นตัวแทนของสมาชิกของสหพันธ์ๆขณะที่ขึ้นทะเบียนและอยู่ในช่วงเวลาที่ตรงกับการแข่งขัน
2.3 คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของประเทศใดประเทศหนึ่งในการแข่งขันนานาชาติของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ หรือการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลของสหพันธ์ฯ จะไม่สามารถเป็นตัวแทนของประเทศอื่นได้ จนกว่าจะผ่านพ้นระยะเวลา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่การเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันครั้งสุดท้าย
2.4 คู่แข่งขันที่ได้เป็นตัวแทนของประเทศใดประเทศหนึ่งในทัวนาเม้นท์ของการสะสมคะแนนโลกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ หรือรายการแข่งขันโอเพ่น ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นจนกว่าจะพ้นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งต้องให้ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของสหพันธ์ฯ อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าเกิดมีปัญหาว่าสองสมาชิกของสหพันธ์ฯ ตกลงกันเองโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะเปลี่ยนแปลงตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นตัวแทนของสมาคมใหม่โดยทันที กำหนดระยะ 6 เดือน โดยเริ่มจากวันที่ได้ยื่นใบสมัครให้กับผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาของสหพันธ์ฯ ที่จะเป็นตัวแทนของประเทศอื่น การยื่นสมัครต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
2.4.1 ในการแข่งขันที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล (IOC) หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ (IWGA) จะไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติเข้าร่วมการแข่งขัน สอดคล้องกับกติกาของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่นักแข่งขันต้องเป็นตัวแทนชาติของตนเอง นักแข่งขันต้องถือครองหนังสือเดินทางของประเทศสมาชิกของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติที่เป็นตัวแทนในช่วงเวลาที่ร่วมอยู่ในรายการแข่งขันของ IOC หรือ IWGA นักกีฬาเป็นตัวแทนได้เพียงประเทศเดียวในรายการแข่งขันของ IOC, OCA หรือ IWGA ถ้าเขา/หล่อน ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมแข่งขันโดยสมาชิกของสหพันธ์ฯ ในประเทศนั้น และระยะเวลาที่ได้รับการอนุญาตรวม 6 เดือนก่อนวันที่มีการแข่งขัน
2.5 การแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยน/ชิงถ้วยรางวัลฟอร์เมชั่น-ทีม ของ IDSF
ในการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนหรือชิงถ้วยรางวัล นักแข่งขันต้องมีอย่างน้อย 12 คู่ ในหนึ่งทีมและต้องถือครองหนังสือเดินทางประเทศสมาชิกของสหพันธ์ฯในขณะนั้น เขา/หล่อนที่ได้รบการแต่งตั้งเป็นตัวแทนของสมาชิกนั้นและอยู่ในช่วงเวลาของการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนหรือชิงถ้วยรางวัลในขณะนั้น
กติกาข้อที่ 14
การแข่งขันชิงแชมเปี้ยนฟอร์เมชั่นนานาชาติ (International Formation Championships)
1. การจัดการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยนฟอร์เมชั่นอาจจัดขึ้นได้ 2 รูปแบบ
ก) ประเภท Standard
ข) ประเภท Latin American
2. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแข่งขัน
ประเภท Standard การแต่งกายของชายจะต้องเป็นสีดำ หรือสีกรมท่า
ประเภท Latin American การแต่งกายของชายให้มีสีสันหลากหลายได้ แต่ฝ่ายชายจะต้องใส่ชุดแข่งขันเป็นสีเดียวกันหมดทั้งทีม ไม่อนุญาตให้สวมใส่เครื่องประดับใดๆ ทั้งสิ้น
3. ทีมของการแข่งขันประเภท Standard จะต้องเลือกใช้รูปแบบของเบสิคอย่างน้อย 16 บาร์ ในแต่ละรูปแบบของการแข่งขันในจังหวะ Waltz, Tango, Viennese Waltz, Slow Foxtrot และ Quickstep ในทุกๆ รูปแบบของการลีลาศรวมไปถึงการลีลาศประเภท Latin American
4. ทีมของการแข่งขันประเภท ลาตินอเมริกัน จะต้องเลือกใช้รูปแบบของเบสิคอย่างน้อย 16 บาร์ ในแต่ละรูปแบบของการลีลาศในจังหวะ Samba, Cha Cha Cha, Rumba, Paso Doble และ Jive รวมไปถึงการลีลาศประเภท Standard
5. การแสดงเดี่ยว ในประเภทสแตนดาร์ดจะจำกัดให้แสดงได้ไม่เกิน 24 บาร์ การนี้ไม่รวมไปถึงประเภทลาตินอเมริกัน ที่ซึ่งการแยกตัวออกจากกันในแบบแสดงเดี่ยวเป็นปกติของการแสดง การยกลอยขึ้นไม่อนุญาตให้ใช้ในการแสดงของทั้งสองประเภท
ข้อสังเกตุ การยกลอยขึ้นในลักษณะของการเคลื่อนไหวใดๆ ระหว่างนักลีลาศคนใดคนหนึ่งที่เท้าทั้งสองข้างยกพ้นพื้น ซึ่งขณะเดียวกันเป็นเวลาที่ได้รับการช่วยสนับสนุนจากคู่ของตนเอง
6. ในทีมของการแข่งขันชิงแชมป์ทั้งหมดกำหนดให้มี 6 คู่ หรือ 8 คู่ ในหนึ่งทีม ห้ามคนใดคนหนึ่งร่วมแข่งขันเกินกว่าหนึ่งทีมในการแข่งขันครั้งเดียวกัน
7. ในการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยน สมาชิกของทีมอาจมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เป็นตัวสำรองได้ 4 ครั้ง
8. ไม่ให้ทีม Formation ใดใช้รูปแบบของการแสดงยาวเกินกว่า 6 นาที รวมไปถึงการเข้าและการออก ในเวลา 6 นาทีนี้ ช่วงเวลาของการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินจะมีไม่เกิน 4 นาที ครึ่ง และต้องระบุให้เห็นอย่างชัดเจนในการจัดรูปแบบ ในการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการแสดง ทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัตินี้อาจถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน โดยประธานกรรมการ
9. คณะกรรมการตัดสินควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการตัดสินในการแข่งขันประเภทฟอร์เมชั่น ซึ่งต้องมีอย่างน้อย 7 คน โดยเลือกจากประเทศต่างๆ ไม่ซ้ำกัน 7 ประเทศ
10. ควรใช้เทปบันทึกเสียง หรือเครื่องเสียงระบบใดก็ได้
11. ควรต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมอย่างเพียงพอ สำหรับทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันและจัดแบ่งเวลาฝึกซ้อมให้เท่าเทียมกันในสถานที่แข่งขันพร้อมกับการให้ใช้ดนตรี
12. ต้องมีการแต่งตั้งประธานกรรมการและประธานกรรมการต้องการเข้าร่วมในการฝึกซ้อม มีหน้าที่คอยตักเตือนทีมที่ฝ่าฝืนกฏกติกาและถ้ากติกาถูกฝ่าฝืนในระหว่างที่ทำการแข่งขัน ประธานจะมีสิทธิ์ที่จะตัดสิทธิ์ทีมที่ฝ่าฝืนออกจากการแข่งขันหลังจากที่ได้หารือกับคณะกรรมการผู้ตัดสินแล้ว
ดนตรีที่ใช้และรูปแบบของการแสดง ในการฝึกซ้อมจะต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน ในการแข่งขันจริงและไม่อนุญาตให้สับเปลี่ยนชุดระหว่างที่มีการแข่งขัน
13. หากมีทีมเข้าร่วมในการแข่งขันเกิน 5 ทีม ในการแข่งขันจะต้องจัดให้มีรอบที่ 2 (Second Round)
กติกาข้อที่ 15
อำนาจของคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ มีอำนาจเต็มในการตัดสินปัญหาที่อยู่นอกเหนือกติกาเหล่านี้
กติกาข้อที่ 16
การประยุกต์ใช้กติกา
สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติยินยอมให้ชาติที่เป็นสมาชิกนำกติกาเหล่านี้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและให้ยึดถือเป็นกติกาของประเทศนั้นๆ
การกำหนดเกณฑ์อายุของนักกีฬา
กลุ่มเกณฑ์อายุ
ปีที่มีการแข่งขัน
พ.ศ. 2550
พ.ศ. 2551
รุ่นการแข่งขัน
ปีที่เกิด
ปีที่เกิด
รุ่นจูเวนไนล์ 1 (Juvenile I)
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ขึ้นไป
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ขึ้นไป
รุ่นจูเวนไนล์ 2 (Juvenile II)
พ.ศ. 2539-2540
พ.ศ. 2540-2541
รุ่นจูเนียร์ 1 (Junior I)
พ.ศ. 2537-2538
พ.ศ. 2538-2539
รุ่นจูเนียร์ 2 (Junior II)
พ.ศ. 2535-2536
พ.ศ. 2536-2537
รุ่นยูธท์ (Youth)
พ.ศ. 2532-2534
พ.ศ. 2533-2535
รุ่นอะเด้าท์ (Adult)
พ.ศ. 2531 หรือก่อน
พ.ศ. 2532 หรือก่อน
รุ่นซีเนียร์ 1 (Senior I)
พ.ศ. 2515 หรือก่อน
พ.ศ. 2516 หรือก่อน
รุ่นซีเนียร์ 2 (Senior II)
พ.ศ. 2505 หรือก่อน
พ.ศ. 2506 หรือก่อน
การนับอายุของนักกีฬา
การนับอายุของนักกีฬา ให้เป็นไปตามข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการ
แข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 5 ข้อที่ 19 ( สอดคล้องกับกฎข้อบังคับของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ข้อที่ 11 )
ระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ(IDSF)
กฏกติกาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบการจัดการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) ในกฏข้อ 12
ขอบเขตอำนาจและความเหมาะสม
กฏกติกาเหล่านี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับรายการแข่งขันกีฬาลีลาศที่ใช้ชื่อของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ และสอดคล้องกับมติของที่ประชุมในการประชุมประจำปีของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF), และรูปแบบของกติกาการแข่งขันภายในประเทศสำหรับสมาชิกของสหพันธ์ฯ จะมีกรณียกเว้นที่สมาชิกของสหพันธ์ฯ สามารถที่จะไตร่ตรองโดยเพิ่มเติมข้อกำหนดระเบียบการแต่งกายขึ้นเอง ในรายการแข่งขันภายในประเทศที่ไม่ได้ใช้ชื่อของ “IDSF”
คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) สงวนอำนาจที่จะกำหนดกฏข้อเฉพาะหรือจำกัดวงหรืออาจจะแก้ไขหรือมีข้อยกเว้นสำหรับรายการแข่งขันที่เป็นกรณีพิเศษ
กติกาโดยทั่วไป
1. ชุดแต่งกายต้องออกแบบให้มีรูปแบบ-ลักษณะที่เหมาะสมตามแต่ละประเภทของการแข่งขัน ( สแตนดาร์ด - ลาตินอเมริกัน )
2. ชุดแต่งกายต้องออกแบบให้ปกปิดส่วนของร่างกายที่เป็นของลับ ( ของสงวน ) ของนักแข่งขัน
3. การแต่งกายและการเม็คอัพต้องให้มีความเหมาะสมกับวัยและระดับของนักกีฬาลีลาศ
4. ไม่อนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ทางศาสนามาเป็นเครื่องประดับ หรือตกแต่งด้วยเครื่องประดับที่เป็นเพชร - พลอย (ไม่รวมถึงเครื่องประดับที่เป็นของส่วนตัว)
5. ประธานเทคนิคของการแข่งขันมีสิทธิที่จะให้ผู้แข่งขันถอดชุดแข่งขันหรือเครื่องตกแต่งที่เป็นเพชร-พลอย ชิ้นที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับนักกีฬาหรือบุคคลอื่น
6. อนุญาตให้ใช้ชุดแข่งขันในระดับหรือเกณฑ์อายุที่รองลงมาได้
กฏเกณฑ์ในรสนิยม
ในกรณีที่มีการใช้วัสดุ หรือสีหรือการออกแบบประดิษฐ์ที่ค้านกับกติกาการแต่งกายนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีในความหมายของคำตามตัวอักษรของระเบียบการแต่งกายนี้, ช่องว่างของกติกาเหล่านี้จะถูกชี้ขาดโดยประธานผู้ตัดสิน
บทลงโทษ
ในกรณีที่คู่แข่งขันฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้สอดคล้องตามระเบียบว่าด้วยการแต่งกายนี้ และได้รับการเตือนจากประธานผู้ตัดสิน เขาเหล่านั้นต้องยินยอมปฏิบัติตามกฏระเบียบหรืออาจถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันโดยทันทีจากประธานฯ, คณะกรรมการบริหารฯ มีสิทธิ์ที่จะลงโทษเพิ่มเติม รวมไปถึงการให้พักจากการแข่งขันในกรณีที่มีการละเมิดซ้ำ
คำอธิบายของประโยค
บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ (Intimacy area) – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ, ส่วนของร่างกายที่จะต้องถูกปกปิดให้มิดชิดด้วยวัสดุที่ทึบ หรือส่วนที่ใช้วัสดุโปร่งใส บดบังด้วยวัสดุที่ทึบ หากใช้สีเนื้อต้องปกปิดด้วยการตกแต่ง
สำหรับคู่ลีลาศที่เป็นหญิง
- ไม่อนุญาตให้ใช้ กางเกงชั้นในที่เว้าลึกไม่คลุมสะโพก (tangas)
- ไม่อนุญาตให้สวมกางเกงชั้นในสีเนื้อ
- ส่วนหน้าอกต้องปกปิดให้มิดชิด
- ช่วงห่างของฝาครอบทรงต้องห่างไม่เกิน 5 ซม.
บริเวณส่วนเว้าส่วนโค้งของร่างกาย (Shape area) – บริเวณส่วนน้อยที่ต้องปกปิดนี้ อนุญาตให้ใช้วัสดุหรือผ้าที่โปร่งใสได้ กรณีนี้ใช้สีอะไรก็ได้
วัสดุที่ใช้เป็นหลัก –
- ที่มีแสงสะท้อน (โลหะ, กากเพชร, เลื่อม, …)
- ที่ไม่มีแสงสะท้อน
การตกแต่ง – การใช้สิ่งต่างๆ ติดลงบนวัสดุที่เป็นหลัก, บนผม, ผิวหนัง
- ที่มีแสงสะท้อน (พลอยเทียม, เลื่อม, ลูกปัด, มุก, …)
- ที่ไม่มีแสงสะท้อน (ขนนก, ดอกไม้, โบว์, ไหมญี่ปุ่น, สิ่งถัก-ทอ, ริบบิ้น, …)
ที่หนีบไทด์, กระดุม, ผ้าพันคอ, หัวเข็มขัด ไม่ถือว่าเป็นสิ่งตกแต่ง
แนวของสะโพก (Hip Line) – ขอบกางเกงชั้นใน (ขนาดของความต่ำ)
แนวตรงของขอบ, แนวสูงสุดด้านบนอยู่บริเวณกล้ามเนื้อสะโพก (intergluteal line) ต้องไม่ดูโจ่งแจ้ง
ชุดเฉพาะเจาะจง
1. ชุดแข่งขันที่ได้รับอนุญาต
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีดำ
เนคไทหรือหูกระต่ายสีดำ
เสื้อไม่รัดรูปสีขาว
ชุดบอดี้สูทหรือทีเชิ๊ต
กระโปรงสีดำ
ชุดกระโปรงธรรมดา“สีเดียว”
ยกเว้นไม่ให้ใช้ “สีเนื้อ”
ชุดกระโปรง+กางเกงชั้นใน
ชุดบอดี้สูทพร้อมด้วยชุดกระโปรง
สีเดียวกัน
จูเวนไนล์
รายละเอียดการตัดเย็บ – ดูแบบตัวอย่างที่ 1
รายละเอียดการตัดเย็บ – ดูแบบตัวอย่างที่ 2
จูเนียร์ 1
เสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีขาว
เสื้อกั๊กสีดำ
กางเกงขายาวสีดำ
เนคไทหรือหูกระต่ายสีขาวหรือดำ
เชิ๊ตหรือเสื้อแขนยาว
สีขาวหรือดำเท่านั้น
เสื้อกั๊กสีดำก็ได้
กางเกงขายาวสีดำ
ชุดแจ็คเก็ตสูท
(กางเกงสีดำหรือกรมท่าแจ็คเก็ตสีดำหรือกรมท่า,เสื้อเชิ๊ตสีขาว,เนคไทสีดำหรือกรมท่า)
ชุดหางยาวสีดำ
(กางเกงสีดำ,
เสื้อหางยาวสีดำ,
ผ้าคาดเอวสีขาว,
เสื้อชั้นในที่ใช้กับเสื้อหางยาว,
หูกระต่ายสีขาว)
จูเนียร์ 2
ยูธท์
อเด้าท์
ซีเนียร์
เสื้อท่อนบนสีอะไรก็ได้
กางเกงขายาวสีอะไรก็ได้
ยกเว้นสีเนื้อ
ชุดแข่งขัน จูเนียร์ 1 -
ใช้สีอะไรก็ได้นอกจากสีเนื้อ
รุ่นอื่นๆ - ใช้สีอะไรก็ได้
ไม่อนุญาตให้ใช้ชุดที่เป็น 2 ท่อน
ความหมายของคำย่อ
IA – บริเวณส่วนที่เป็นที่ลับ
PL – ส่วนที่เป็นกางเกงใน
SA – ส่วนที่เป็นส่วนเว้า - ส่วนโค้ง
(SHAPE)
HL – ส่วนที่เป็นสะโพก (HIP)
ชุดแข่งขัน จูเนียร์ 1 -
ใช้สีอะไรก็ได้นอกจากสีเนื้อ
รุ่นอื่นๆ - ใช้สีอะไรก็ได้
ท่อนบนและกางเกงชั้นใน
ต้องไม่ใช่บิกินี
2. เครื่องประดับที่มีแสง
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่ง
ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว
จูเนียร์ 1
ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่ง
ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว
ไม่อนุญาตให้ใช้วัสดุที่มีแสงแวววาวตกแต่ง
(ตกแต่งได้แต่ต้องไม่ใช้วัสดุที่มีแสงแวววาว)
ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่เป็นเลื่อมหรือมีแสงแวววาว
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
ไม่เข้มงวด
3. รองเท้า, ถุงเท้า, ถุงน่อง
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ส้นสูงไม่เกิน 2.5 ซม.
ต้องใส่ถุงเท้าสีดำ
ส้น block สูงไม่เกิน 3.5 ซม.
อนุญาตให้ใช้ถุงเท้าสั้นสีอะไรก็ได้
ไม่อนุญาตให้ใช้ถุงน่องตาข่ายแต่ใช้ถุงน่องสีเนื้อได้
จูเนียร์ 1
ส้นสูงไม่เกิน 5 ซม.
ใส่ถุงเท้าสั้นได้
ไม่อนุญาตให้ใส่ถุงน่องตาข่าย
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
รองเท้าไม่เข้มงวด
ต้องสวมถุงเท้าสีดำ
ไม่เข้มงวด
4. ทรงผม
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ไม่อนุญาตให้มีการตกแต่งทรงผมและใช้สเปร์ยที่มีสี
จูเนียร์ 1
ไม่อนุญาตให้ตกแต่งทรงผมที่มีแสงแวววาวหรือใช้สเปร์ยที่มีสี
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
ถ้าผมยาวต้องรวบเป็นหางม้า
ไม่เข้มงวด
5. การเม็คอัพ
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์, จูเนียร์ 1
ไม่อนุญาตให้แต่งหน้า
จูเนียร์ 2– ซีเนียร์
ไม่เข้มงวด
6. การตกแต่งเครื่องประดับ (ไม่ใช่เครื่องประดับส่วนตัว)
รายการ
ชาย
หญิง
คู่เต้นรำ
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
สแตนดาร์ด
ลาตินอเมริกัน
จูเวนไนล์
ไม่อนุญาตให้ตกแต่งด้วยเครื่องประดับสะท้อนแสง
จูเนียร์ 1
อนุญาตให้ตกแต่งด้วยเครื่องประดับสะท้อนแสงได้
จูเนียร์ 2 – ซีเนียร์
ไม่เข้มงวด
แบบตัวอย่างที่ 1: ชุดแต่งกายของเด็กชายรุ่นจูเวนไนล์
เสื้อเชิ๊ต :
- เสื้อเชิ๊ตแขนยาวเรียบง่ายธรรมดา
- ไม่อนุญาตให้ใช้ผ้าที่ส่องประกายหรือผ้าที่มีลวดลายควรจะเป็นผ้าที่เป็นฝ้ายหรือใยสังเคราะห์
- ไม่อนุญาตให้ใส่เสื้อคอปีก
- ห้ามพับแขนเสื้อ
- ต้องสอดเสื้อเข้าในกางเกง
แบบตัวอย่างที่ 2 : ชุดแต่งกายของเด็กหญิงในรุ่นจูเวนไนล์
A. ช่วงคอเสื้อ – ให้เจียนหรือตัด, วิธีอื่นไม่อนุญาต
B. แขนเสื้อ – ให้เจียนหรือตัด, วิธีอื่นไม่อนุญาต
C. กระโปรง
- อนุญาตให้เป็นกระโปรงเรียบหรือจับจีบตัดเย็บไม่น้อยกว่า 1 ครึ่งวงกลมและไม่เกิน 3 ครึ่งวงกลมเท่านั้น อนุญาตให้มีซับในธรรมดา 1 วงกลม ไม่อนุญาตให้มีซับในที่ใหญ่กว่านั้น
- ไม่อนุญาตให้มีการติดระบายบนตัวกระโปรงและชายกระโปรง การกุ้นหรือการแซกชายกระโปรง
- ความยาวของชายกระโปรงต้องอยู่เหนือเข่าไม่เกิน 10 ซม. และยาวได้ไม่เกินคลุมเข่า
- ไม่อนุญาตให้มีการตัดเย็บด้วยวิธีอื่นอีก
ตัวอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น